Tuesday, March 16, 2010

วางเครือข่าย10รพ.เฝ้าระวังไวรัสหวัดใหญ่กลายพันธุ์

วางเครือข่าย10รพ.เฝ้าระวังไวรัสหวัดใหญ่กลายพันธุ์

กรมวิทย์วางเครือข่าย 10 รพ.เฝ้าระวังไวรัสไข้หวัดใหญ่ กลายพันธุ์ ส่วนยาโอเซลทามิเวียร์ ต้านหวัด09 พบมีการดื้อ 1.61% ถือเป็นอัตราที่ต่ำมาก อาจมาจากการใช้ยาต้านจำนวนมาก ไม่เป็นไปตามข้อแนะนำของแพทย์...เมื่อวันที่ 16ก.พ. นพ.จักรธรรม ธรรมศักดิ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขได้ร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก และศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐด้านสาธารณสุขในการต่อสู้กับโรคไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการติดตามฤดูการระบาดและการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ของเชื้อก่อโรค นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบันมีเครือข่ายกระจาย 10 โรงพยาบาลทั่วประเทศที่เข้าร่วมในโครงการ ดำเนินการคัดเลือกและเก็บตัวอย่างผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ (Influenza Like Illness, ILI) ตามนิยามขององค์การอนามัยโลก โดยจัดเก็บตัวอย่างมาเพื่อศึกษาติดตามการแพร่ระบาดและการเปลี่ยนแปลงสาย พันธุ์จนถึงปัจจุบัน ทำให้ได้ข้อมูลอุบัติการณ์ของตัวเชื้อตามฤดูกาลและการกระจายของตัวเชื้อตาม ลักษณะภูมิอากาศของแต่ละภาคที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนป้องกัน ควบคุม และเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งการบริหารวัคซีนของประเทศให้เหมาะสมอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ในการเฝ้าระวังผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างจากสถานพยาบาลเฝ้าระวังเฉพาะพื้นที่ 10 แห่งกระจายทั่วทุกภาค ประมาณ5-10 รายต่อสัปดาห์ในแต่ละสถานพยาบาลโดยเฉลี่ยปีละประมาณ 3,500 ราย ตัวอย่างจากการตรวจด้วยไม้พันสำลีป้ายที่คอ (Throat swab) มาตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่และเชื้อไวรัสระบบทางเดินหายใจตัว อื่นๆ โดยเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่แยกได้จะถูกสุ่มขึ้นมาตรวจวิเคราะห์หาการกลายพันธุ์ และการดื้อยาซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่างเชื้อไข้หวัดใหญ่กับเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคที่รุนแรง ง่ายต่อการติดต่อจากคนสู่คนด้าน นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ ผอ.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กล่าวว่า ในปี พ.ศ.2552 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข และสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้เริ่มโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ที่มีอยู่เดิม โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการและระบบเฝ้าระวัง โรคข้อมูลตัวเชื้อ พบว่า ตั้งแต่เดือนม.ค.–ธ.ค. 2552 พบเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A (H1N1)ดื้อต่อยาโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir)เพียงร้อยละ 1.61 ถือว่าเป็นอัตราที่ต่ำมาก ส่วนสาเหตุของการตรวจพบเชื้อไวรัสดื้อยามาจากหลายปัจจัย เช่น มีการใช้ยาต้านไวรัสจำนวนมาก ไม่เป็นไปตามข้อแนะนำของแพทย์ รวมทั้งการติดต่อจากคนสู่คนของประชาชนที่เดินทางไปต่างประเทศ.


NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive