Thursday, March 18, 2010

อนุกก.TQFยอมรับม.รัฐเอกชนบ่นกรอบยุ่งยาก

อนุกก.TQFยอมรับม.รัฐเอกชนบ่นกรอบยุ่งยาก



คมชัดลึก :อนุกก.TQFยอมรับอาจารย์ม.รัฐ เอกชน บ่นกรอบTQF ยุ่งยาก เหตุแบบฟอร์มเยอะ ศัพท์ยาก เขียนไม่เป็น แนะสกอ.ทำคู่มือและประชุมชี้แจง






 จากกรณีคณาจารย์ 372 คน จาก 28 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศทำหนังสือถึง สกอ. เรียกร้องให้ทบทวนกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (Thailand Qualification Framework หรือ TQF) เนื่องจากสร้างภาระให้แก่อาจารย์ในการทำเอกสารมากมาย ซึ่งล่าสุดสกอ.จะนำเสนอ คณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ.)เพื่อพิจารณาทบทวนนั้น
 เมื่อวันที่ 18 ก.พ.2553 รศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์(มธบ.) ในฐานะกรรมการในคณะอนุกรรมการส่งเสริมและติดตามการดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ(TQF) ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) กล่าวว่า เรื่องนี้ สกอ.มอบหมายให้ตนทำวิจัยเมื่อปี 2546 โดยศึกษาของประเทศต่างๆ ก่อนนำมากำหนดเป็นกรอบ TQF ของประเทศไทย ซึ่งไทยนำมาใช้เฉพาะ TQF ของคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ เพื่อเป็นหลักประกันแก่สังคมว่าบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยผลิตออกไปจะได้คุณภาพมาตรฐานกลางหรือขั้นต้น เรื่องนี้เป็นแนวคิดที่ดี เพียงแต่ต้องปรับวิธีการปฏิบัติ
 รศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าวอีกว่า เรื่องการกรอกแบบฟอร์มเอกสารที่มีเป็นจำนวนมาก สกอ.ควรทบทวนและยกเลิกแบบฟอร์มที่ซ้ำซ้อน เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่อาจารย์ รวมถึงต้องชี้แจงทำความเข้าใจศัพท์เทคนิคในแบบฟอร์ม โดยอาจทำเป็นคู่มือแจกอาจารย์ และจัดประชุมชี้แจงแนวทางการเขียน เนื่องจากภายหลังมีการนำ TQF ไปใช้ใน 3 สาขาวิชา ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โลจิสติคส์ และพยาบาลศาสตร์ มีเสียงสะท้อนจากผู้ใช้ทั้งจากมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนใน 3 เรื่อง คือ แบบฟอร์มมากเกินไป ยิบย่อยและซ้ำซ้อน , ศัพท์ในแบบฟอร์มต้องตีความซึ่งอาจเกิดการตีความที่หลากหลายตามความเข้าใจของตัวเอง เช่น ศัพท์คำว่าทักษะทางปัญญา , การพัฒนาหลักสูตรตามกรอบ TQF ต้องมีความเข้าใจและผ่านการเรียนรู้เป็นพื้นฐานมาระดับหนึ่ง ดังนั้นสำหรับคนที่ขาดความพร้อม อาจไม่สามารถเขียนในแบบฟอร์มได้
 "ยังมีกรอบ TQF ของสาขาวิชาต่างๆ อีกประมาณ 5-6 สาขาที่ยังไม่ประกาศออกมา สกอ.จึงควรเชิญผู้แทนแต่ละสาขาวิชามาร่วมระดมความเห็นให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้เริ่มจัดทำ ซึ่งจะมีความหลากหลายของสาขามาก แม้แต่ในสาขาเดียวกัน ก็ยังมีหลายรูปแบบ ฉะนั้นการจัดทำกรอบ TQF จึงควรผ่านการระดมความเห็นให้กว้างขวาง มิเช่นนั้นการนำมาปฏิบัติจริง จะเกิดปัญหามากขึ้นกว่า 3 สาขาวิชาที่ได้ประกาศออกไป"รศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าว








ข่าวที่เกี่ยวข้องมหาลัยค้านTQF ทปอ.ถกเม.ย.นี้มรภ.ธนบุรีผุดสาธิตแห่งแรกในสมุทรปราการชัยวุฒิสั่งสกอ.ดูการจัดการศึกษาทั้งในและนอกที่ตั้งสกศ.คว่ำสถาบันคุรุศึกษาแห่งชาติคุมศึกษานอกที่ตั้งอย่าหวังค้ากำไรก.พ.ไม่รับรองวุฒิ

NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive