Saturday, March 20, 2010

พอแล้วรวย เตรียมพร้อมรับภัย 2

พอแล้วรวย เตรียมพร้อมรับภัย 2





คมชัดลึก :ฉบับที่แล้วอาจารย์ยักษ์ได้เปิดประเด็นถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดภัยพิบัติใหญ่จากเขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ์แตกด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เขื่อนทั้งสองตั้งอยู่บนรอยเลื่อนของเปลือกโลกที่ชื่อว่า รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ซึ่งในอดีตก็มีการบันทึกถึงการไหวตัวของทั้งสองรอยเลื่อนนับร้อยนับพันครั้ง เพียงแต่การไหวตัวของรอยเลื่อนที่ผ่านมาอาจอยู่ลึกลงไปมากยังไม่ส่งผลสะเทือนถึงผิวโลกชั้นบนที่เขื่อนตั้งอยู่







  จู่ๆ ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตก็ออกมาเปิดเผยข้อมูลรวมทั้งสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์พูดถึงสภาพของน้ำที่จะหลากลงมาหากเขื่อนแตก ทำให้เราต้อง “เอะใจ” ว่าหากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตมีความมั่นใจถึง “ความปลอดภัย” ร้อยเปอร์เซ็นต์ของเขื่อนก็จะไม่คิดที่จะทำข้อมูลจำลองออกมาแบบนี้ แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ถือว่าอาจเป็นการ “เตือนล่วงหน้า” เพราะตั้งแต่เกิดเหตุสึนามิแล้ว คนไทยก็ดูจะรับฟัง “คำเตือน” มากขึ้น
 หากย้อนกลับไปถึงประชาชนเฮติ ถ้ารู้ตัวล่วงหน้าว่าวันใดวันหนึ่งจะมีแผ่นดินไหวขนาดที่คร่าชีวิตคนเป็นเรือนแสน และทำให้คนเรือนล้านไร้ที่อยู่ เขาจะเตรียมตัวอย่างไร
 แน่นอนเมื่อมีภัยพิบัติเกิดขึ้น สิ่งที่จะเป็นปัญหาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ ที่อยู่อาศัย อาหาร ยา การป้องกันโรคระบาด การจัดการกับคนตาย คนบาดเจ็บ ระบบการให้การช่วยเหลือ และการเยียวยา ในแต่ละเรื่องก็เรื่องใหญ่ที่ต้องคิด เตรียมการ วางแผนให้ดี ภัยพิบัติน้ำท่วมสำหรับประเทศไทยมิใช่เรื่องใหม่ แต่ถ้าเป็นภัยพิบัติน้ำท่วมที่มาจาก “เขื่อนแตก” แล้วคงจะเป็นเรื่องใหม่แน่นอน ซึ่งก็ยังคงประเมินความรุนแรงและความเสียหายไม่ได้ในตอนนี้ ในฐานะปัจเจกชนที่คิดว่า “ไม่ประมาท” และ “เตรียมพร้อม” เราควรทำอะไรบ้าง
 1.หาข้อมูลให้แน่ชัดว่าเราอยู่ในจุดเสี่ยงภัยหรือไม่ ถ้าใช่ ภัยที่จะมาถึงตัวนั้นเร็วช้าแค่ไหนมีเวลาในการอพยพมากน้อยแค่ไหน เช่น ในกรณีที่เป็นคนบ้านโป่ง น้ำจากเขื่อนจะมาถึงภายใน 11 ชั่วโมง ภายใน 11 ชั่วโมง ต้องทำอะไร
 2.ศึกษาเส้นทางอพยพ จุดหมายปลายทางที่จะไป ผู้ร่วมเดินทาง การนัดหมาย  3.อุปกรณ์ ข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็น อะไรที่ต้องสละ อะไรที่จำเป็น
 การเตรียมการข้างบนดูเหมือนจะง่าย แต่ในทางปฏิบัติไม่ง่ายเลย และต้องมี “สติ” อย่างมาก น้ำท่วมจากเขื่อนอาจจะรุนแรง ฉับพลัน แต่ก็จะอยู่ไม่นาน เหมือนเทน้ำจากกะละมัง น้ำจะมาเร็ว และไปเร็ว น่าห่วงก็แต่จะมีฝนมาผสมโรง หรือน้ำไม่สามารถไหลลงสู่ทะเลได้ในเวลาอันรวดเร็วจะด้วยเป็นเพราะสาเหตุใดก็ตาม แล้วในกรณีคนเมืองกาญจน์ที่มีข้อมูลว่าน้ำอาจท่วมสูงถึง 25 เมตร อาจารย์ยักษ์จะทำยังไง อาจารย์ยักษ์ก็จะบอกง่ายๆ คือ “ทำใจ” และก็ “ทำบุญ” นอกเสียแต่ว่าบ้านไหนจะมีต้นตะเคียน ยางนา สูงใหญ่ ก็สร้าง “บ้านรังนก” เผื่อไว้เป็นที่หลบภัย
 แต่ ณ วันนี้เหตุการณ์ “เขื่อนแตก” ก็เป็นเรื่องไกลตัว หากเทียบกับ “ภัยแล้ง” ที่กลายเป็น “แขกประจำ” ของประเทศสยามไปเสียแล้ว และนับวันแขกผู้นี้ก็สำแดงอิทธิฤทธิ์มากขึ้นเรื่อยๆ เพียงเดือนกุมภาพันธ์ ข่าวภัยแล้งในภูมิภาคต่างๆ ก็กลายมาเป็นปัญหาระดับชาติอีกครั้งหนึ่ง
 อาจารย์ยักษ์เพิ่งลงใต้ไปทุ่งสง ทหารในกองทัพภาค 4 ก็รายงานมาให้ทราบแล้วว่า ต้องขนน้ำไปประทังความเดือดร้อนให้แก่พี่น้องชาวจังหวัดตรังถึงวันละ 4-5 เที่ยว ประปาชุมชนหลายแห่งน้ำก็แห้งหมดแล้ว นัยว่า “วิกฤติภัยแล้ง” ปีเสือปีนี้จะดุสุด อาจทำให้เสือที่ขาดน้ำ หิวน้ำฆ่ากันตายได้
 อยากฝากรัฐบาลให้เตรียมหาทางป้องกันให้ดี ความขัดแย้งระหว่างภาคเกษตร และภาคอุตสาหกรรมที่น้ำมีความสำคัญมากทั้งคู่อาจถึงขั้นปะทะ และฆ่ากัน
 ที่เตือนไม่ใช่เพราะอาจารย์ยักษ์มองโลกในแง่ร้าย แต่เพราะความขัดแย้งในการ “แย่งชิงน้ำ” ระหว่างภาคเกษตรและอุตสาหกรรมที่รุนแรงถึงขั้นจะ “ฆ่า” กันได้เคยเกิดมาแล้ว แต่ปีนี้สถาณการณ์ที่บ่งบอกว่า น้ำจะวิกฤติที่สุด ก็จะเป็นตัวจุดชนวนให้ความขัดแย้งกลับมาอีก  สุดท้ายที่อยากจะฝากไว้ในการเตรียมภัย คือ “เตรียมใจ”  
"อาจารย์ยักษ์ ณ มหา’ลัยคอกหมู"








ข่าวที่เกี่ยวข้องละครของผู้นำโลกที่โคเปนเฮเกน 1

ยุทธการถอยหลังเข้าคลอง
"รักษ์ไม่จางที่บางปะกง 1"



NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive