Sunday, February 10, 2013

เครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก ยื่นหนังสือค้านนโยบายเรียนร่วมศธ.

เครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก ยื่นหนังสือค้านนโยบายเรียนร่วมศธ.
กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก 4 ภูมิภาคคัดค้านนโยบายเรียนร่วมศธ.‏ หวั่นทำให้ประชาชนไม่ได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ...เมื่อวันที่ 10 ก.พ. กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก 4 ภูมิภาค สภาการศึกษาทางเลือก พร้อมด้วยสมาชิกกลุ่มการศึกษาทางเลือก 400 องค์กร นำโดยนายชัชวาลย์ ทองดีเลิศ เลขาธิการสภาการศึกษาทางเลือก ทำจดหมายเปิดผนึกถึงนายพงษ์เทพ  เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อคัดค้านนโยบายเรียนร่วมเรียนรวมของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) อันจะนำมาซึ่งการยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ทั้งนี้นายชัชวาลย์ กล่าวว่า นโยบายดังกล่าวมีการดำเนินงานที่อาจขัดกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เพราะเขตพื้นที่การศึกษาได้ปล่อยปะละละเลยการบริหารโรงเรียน จากนั้นก็ใช้วิธีการนำเด็กเดินทางไปเรียนร่วม เรียนรวม กับโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่  จนเกิดการยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กทำให้ประชาชนไม่ได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพทั้งนี้กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก จึงขอเรียกร้องให้กระทรวงศึกษาธิการยุติการดำเนินนโยบาย และการสั่งการให้เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการเรียนร่วม เรียนรวม  อันจะนำมาซึ่งการยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก  รวมทั้งต้องสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก  โดยจัดตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่างตัวแทนกระทรวงศึกษาธิการ  ตัวแทนเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก 4 ภูมิภาค องค์กรชุมชน และภาคประชาสังคมต่างๆ  มีบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กโดยการบริหารจัดการแนวใหม่ แบบมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย.

ถูกแดดกันโรคข้ออักเสบ อาบมากไปเข้าใกล้มะเร็ง

ถูกแดดกันโรคข้ออักเสบ อาบมากไปเข้าใกล้มะเร็ง
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า คนเราควรหาถิ่นฐานที่อยู่ในที่ซึ่งมีแสงแดดส่อง เพราะมันจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคข้ออักเสบง่ายๆวารสารการแพทย์ “โรคข้ออักเสบแห่งอังกฤษ” แจ้งว่า นักวิจัยของโรงเรียนสาธารณสุขฮาร์วาร์ด ได้ศึกษากับผู้หญิงไม่ต่ำกว่า 2 แสนคน เพื่อหาความเกี่ยวพันของแสงแดดกับโรคข้ออักเสบ เพราะเชื่อว่าวิตามินดีในแสงแดดอาจจะให้คุณ ช่วยปกป้องร่างกายได้ แต่บอกไว้ก่อนว่า ไม่ควรจะไปตากแดดหัวแดงตลอดทั้งวัน เพราะอาจจะล่อแหลมกับการเป็นมะเร็งผิวหนังได้โรคข้ออักเสบ มักจะเป็นกันมากในหมู่สตรี เกิดจากระบบภูมิคุ้มโรคของตัวเองกลับหันไปทำร้ายข้อต่อ ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง.

ยูนิเซฟเผยแพร่หนังสั้น A Chance for Change ตอนที่ 4

ยูนิเซฟเผยแพร่หนังสั้น A Chance for Change ตอนที่ 4
ยูนิเซฟเผยแพร่หนังสั้น ตอนที่ 4 A Chance for Change โดยเป็นเนื้อหาที่เยาวชนทั้ง 2 คน คือ ดาวใจและอุไรรัตน์เยาวชนตามโครงการที่กำลังฝึกงานในครัวของโรงแรมดังจะทำอะไรเมื่อคิดถึงบ้าน...เมื่อวันที่ 11 ก.พ. มีรายงานว่ายูนิเซฟเผยแพร่หนังสั้น A Chance for Change ตอนที่ 4 ชีวิตในเมืองหลวง  http://youtu.be/xTYDNQQKNjY โดยเนื้อหาระบุว่า ครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่ดาวใจและอุไรรัตน์ต้องมาใช้ชีวิตในเมืองกรุงอันแสนวุ่นวายแห่งนี้เป็นเวลาหลายเดือน ซึ่งทั้ง 2 คน ทำอะไรเมื่อคิดถึงบ้านหนังสั้นชุดนี้ นำเสนอเรื่องราวของ น.ส.ดาวใจ แซ่ท่อ เด็กสาวกลุ่มชาติพันธุ์ม้งวัย 20 ปี จากหมู่บ้านทับเบิก จ.เพชรบูรณ์ ที่ต้องการต่อสู้และส่งตนเองเรียน ส่วนอีกคน น.ส.อุไรรัตน์ ศรีสาระ วัย 18 ปี เด็กสาวผู้กำพร้าพ่อตั้งแต่อายุ 7 เดือนจาก จ. หนองคาย ซึ่งทางบ้านไม่สามารถส่งเสียให้เรียนต่อได้ ทั้งคู่ได้พบโอกาส ความหวัง และความฝัน ณ โรงแรมหรูใจกลางเมืองหลวง หลังจากได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาเยาวชนในสายอาชีพ (Youth Career Development Programme) ซึ่งจัดอบรมการโรงแรมให้แก่เด็กและเยาวชนที่ยากจนและขาดโอกาสเป็นเวลา 5 เดือนโครงการนี้ ริเริ่มโดยยูนิเซฟและโรงแรมแพน แปซิฟิกเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต สร้างโอกาส และรายได้ที่มั่นคง ตลอดจนป้องกันเด็กกลุ่มนี้จากการถูกล่อลวงให้เข้าสู่ธุรกิจบริการทางเพศ และการถูกเอารัดเอาเปรียบทางแรงงาน หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับยูนิเซฟ กรุณาไปที่ www.unicef.or.th หรือ www.facebook.com/unicefthailand

หมากกะโหล่งโปงลางของอาชีวะ

หมากกะโหล่งโปงลางของอาชีวะ
               "ผมอยากจะหากิจกรรมให้เด็กๆ ได้ทำ เพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ จะได้ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดหรือเกม ด้วยความชอบโปงลางมาตั้งแต่เด็กๆ และเมื่อผมชอบผมก็จะทุ่มเทใจลงไปกับสิ่งนั้น ทำให้เกิดความคิดที่จะทำวงโปงลางขึ้นมา และพยายามให้เด็กมีส่วนร่วมให้มากที่สุด ก็คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเด็กเอง เพราะตอนนี้การที่เขาได้เข้ามาช่วยงานในวง การที่มาฝึกซ้อมทุกวันก็ทำให้เขาเกิดความรับผิดชอบที่ดี หันมาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น" อักษรศิลป์ แก้วมหาวงศ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ กล่าว                 ด้วยความที่อยากเห็นเด็กนักเรียนอาชีวะที่ใครหลายๆ คนมองว่าไม่สามารถเล่นดนตรีได้ เพราะเป็นเด็กที่เรียนมาทางสายช่างฝีมือไม่ได้เกี่ยวข้องกับสายดนตรี เมื่อมีโอกาสได้ย้ายมาเป็น ผอ.ที่วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ ผอ.อักษรศิลป์ก็ก่อตั้งวงโปงลางขึ้นมาอีกครั้งภายใต้ชื่อ "หมากกะโหล่งโปงลาง" แม้วงโปงลางที่ จ.ศรีสะเกษ จะมีเป็นจำนวนมาก แต่ด้วยความชื่นชอบและรักที่จะทำบวกกับหน้าที่ของการเป็นครู จึงอยากที่จะหากิจกรรมให้เด็กๆได้ทำร่วมกัน โดยเป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้เด็กๆ ได้ห่างไกลจากอบายมุขทั้งปวง จึงซื้อเครื่องดนตรีโปงลางและว่าจ้างให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านโปงลางมาช่วยสอนวิธีการเล่นให้กับเด็กๆ                 "ช่วงแรก ผอ.ยอมรับว่ามีความยากลำบากในการที่จะดึงให้เด็กเข้ามาเล่นเครื่องดนตรีพื้นบ้าน เพราะเด็กบางคนยังเกิดความรู้สึกเขินอายอยู่บ้าง จึงต้องนำเอาเครื่องดนตรีสากลเข้ามาเป็นส่วนร่วมบ้างเล็กน้อย แต่ก็ยังคงกลิ่นอายของดนตรีพื้นบ้านไว้ให้มากที่สุด เมื่อเด็กเกิดความสนิทใจก็จะนำเครื่องดนตรีสากลออก เพราะเกรงว่ากลิ่นอายของดนตรีพื้นบ้านจะถูกกลืนหายไป และสนุกในที่สุด และค่อยๆเป็นวงอย่างสมบูรณ์" ผอ.อักษรศิลป์ กล่าว                 องค์ประกอบของวงหมากกะโหล่งโปงลาง มีเครื่องดนตรีที่ได้แก่ โปงลาง พิณ แคน กลองยาวอีสาน รำมะนา ฉิ่ง ฉาบ หมากกะโหล่ง หรือกั๊บแก๊บ ไหซอง สองอย่างหลังนี้จะมีไว้เพื่อเป็นตัวชูโรง แต่ความจริงจะมีหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นองค์ประกอบหลักๆของวงโปงลางทั่วไปอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม หากจะมีเพียงแค่นาฏศิลป์ก็จะทำให้เกิดความซ้ำซาก จำเจ คนดูก็จะรู้สึกเบื่อได้ง่าย จึงพัฒนาให้วงโปงลางที่นอกจากจะมีเพียงแค่ดนตรี ยังมีในส่วนของแดนเซอร์ นักร้องขึ้นมาเพิ่มเติม ลักษณะคล้ายกับวงโปงลางชื่อดังอย่าง โปงลางสะออน รวมทั้งยังมีการเพิ่มเติมในส่วนของตัวตลกขึ้นมาเพื่อให้เกิดความหลากหลายและสนุกสนานมากยิ่งขึ้น                 สมทบ ทรัพย์ศาสตร์ นักเรียนชั้น ปวช.ปีที่ 2 แผนกช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ ตัวแทนสมาชิกจากวงหมากกะโหล่งโปงลาง เล่าถึงเหตุผลในการเข้าร่วมกับวงโปงลาง เพราะความชื่นชอบ และถือเป็นกิจกรรมที่ดีที่จะได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ จะได้ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เมื่อมีเวลาว่างจากการเรียนก็จะมาซ้อมโปงลางกับเพื่อนๆ และรุ่นพี่ในวงเสมอ ขณะนี้เข้าร่วมได้ประมาณ 2 เดือนแล้ว ทำให้พ่อแม่รู้สึกดีใจและสบายใจที่เราหันมาใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์                 หลายๆ ครั้งเราจะเห็นวงโปงลาง วงนาฏศิลป์ส่วนใหญ่จะมาจากนักเรียนที่เรียนทางด้านสายสามัญศึกษา แต่ทางสายอาชีวะจะพบน้อยมาก ความจริงแล้วก่อนที่จะมาเป็นเด็กอาชีวะทุกคนจะต้องผ่านการเรียนการสอนในสายสามัญมาก่อน และหลายๆ คนก็มีพื้นฐานในด้านการเล่นดนตรีพื้นบ้านมาบ้างไม่มากก็น้อย เพียงแต่ขาดการต่อยอด ทำให้เขาหลงลืมและขาดโอกาสที่จะได้แสดงออกในส่วนนี้ไป สนใจ วงหมากกะโหล่งโปงลาง วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ สอบถามได้ที่ 08-3966-9358   ................................................ ('หมากกะโหล่งโปงลาง'อาชีวะบนเส้นทางเสียงเพลง : โดย...นิรมล สถานเมือง)  

ทุกนาทีมีค่าลดภาระพ่อแม่

ทุกนาทีมีค่าลดภาระพ่อแม่
               ชีวิตของการเป็นนักเรียน นักศึกษาเป็นช่วงเวลาแห่งความสนุกและมีความสุขมากที่สุด แตกต่างกับ สุรางค์รัตน์ เจนการ หรือ แบท นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาการสารสนเทศ (ไอที) เอกนิเทศศาสตร์ สาขาวารสารศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) ที่แม้เวลานี้จะเป็นช่วงเวลาของการฝึกประสบการณ์การทำงานแต่ก็ยังคงต้องทำงานพิเศษ ที่เรียกว่างานพาร์ทไทม์ (Part time) ควบคู่ไปด้วย คือ การนวดแผนไทย                 ซึ่ง "แบท" เล่าให้ฟังว่า ที่ต้องมาเพราะไม่อยากจะรบกวนเรื่องค่าใช้จ่ายกับพ่อและแม่ เลี้ยงดูเราเป็นอย่างดี และส่งเสียให้เราได้เรียนสูงๆมาจนถึงทุกวันนี้ ก็เลยตัดสินใจมาทำงานพิเศษเพื่อเป็นการช่วยเหลือตัวเองและแบ่งเบาภาระทางบ้าน แถมยังคลายเครียด เพราะที่ร้านจะมีเพื่อนๆ คอยพูดคุย คอยให้คำปรึกษาเวลาที่เครียดมาจากการฝึกงานเราก็จะมีเพื่อนๆ ที่ร้านคอยให้กำลังใจทำให้หายเครียดไปได้                 "การใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ ต้องมีค่าใช้จ่ายเยอะ เดือนละ 5,000 บาทก็คงไม่พอ เพราะเราต้องเดินทางทุกวัน ใช้จ่ายอะไรต่างๆนานา แต่เมื่อเราได้มาทกับพ่อและแม่ เลี้ยงดูเราเป็นอย่างดี และส่งเสียให้เราได้เรียนสูงๆมาจนถึงทุกวันนี้ ก็เลยตัดสินใจมาทำงานพิเศษเพื่อเป็นการช่วยเหลือตัวเองและแบ่งเบาภาระทางบ้าน แถมยังคลายเครียด เพราะที่ร้านจะมีเพื่อนๆ คอยพูดคุย คอยให้คำปรึกษาเวลาที่เครียดมาจากการฝึกงานเราก็จะมีเพื่อนๆ ที่ร้านคอยให้กำลังใจทำให้หายเครียดไปได้  "การใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ ต้องมีค่าใช้จ่ายเยอะ เดือนละ 5,000 บาทก็คงไม่พอ เพราะเราต้องเดินทางทุกวัน ใช้จ่ายอะไรต่างๆนานา แต่เมื่อเราได้มาทำงานตรงนี้จากที่ต้องขอเงินพ่อแม่เดือนละ 5,000 บาทก็ไม่ต้องขอ ใช้เงินที่ได้จากการทำงานแทน" แบท เล่า                 แบท ได้วิชา "นวด" มาจากน้าเป็นคนสอนวิชาให้และเริ่มเรียนรู้ และฝึกฝนมาเรื่อยๆ อาศัยเรียนรู้ และจำจากหมอนวดคนอื่นๆ แต่ก็ไม่ได้ถือว่าเก่ง หรือนวดรักษาได้ เพียงแค่นวดเพื่อผ่อนคลายเท่านั้น เริ่มต้นทำตั้งแต่ช่วงปิดเทอมที่ผ่านมา ซึ่งตอนแรกคิดว่าจะไปทำงานโรงงาน แต่น้าก็ได้ชักชวนให้มาลองนวด ถ้าไม่อยากทำก็ไม่เป็นไรแต่อย่างน้อยก็จะได้มีวิชาชีพติดตัวไป เป็นอาชีพที่มีมีอิสระ หากให้ไปทำอย่างอื่นอย่างเด็กเสิร์ฟหรืออะไรก็ตามที่ต้องเข้า-ออกงานเป็นเวลา ก็คงจะแบ่งเวลาลำบากเพราะต้องฝึกงานสื่อสารมวลชนไปด้วย                  "ก่อนหน้านี้ไม่เคยคิดที่อยากจะมานวด เพราะมองว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่ไม่มีเกียรติ เป็นอาชีพที่หลายคนดูถูก แต่เมื่อได้มาเรียนรู้ ได้มาสัมผัสด้วยตัวเอง ก็พบว่ามันมีทั้งด้านดีและด้านไม่ดีทั้งนี้มันขึ้นอยู่กับตัวเราเอง อยู่ที่การวางตัวของเรา จากตอนแรกที่มองในแง่ลบ เมื่อได้มาเรียนรู้ก็เปลี่ยนทัศนคติ เปลี่ยนมุมมอง ที่สำคัญอาชีพนี้ถือเป็นอาชีพที่สุจริตที่ไม่ได้ไปเบียดเบียนใครและที่เราไม่ต้องรบกวนเงินจากทางบ้าน" แบท กล่าว                 แบท กล่าวต่อไปว่า การที่เด็กในวัยนี้จะเลือกมาทำงานในจุดนี้หรือไม่ มันก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน แต่คนที่เลือกมาทำงานพิเศษก็มีเป็นส่วนน้อย เพราะถ้าครอบครัวไม่ได้เจอกับจุดหักเหของชีวิตก็อาจจะไม่จำเป็นต้องทำงานพิเศษก็ได้ แต่ก็ขอให้รับผิดชอบการเรียน เพราะว่าพ่อกับแม่ส่งเสียให้เราเรียน เสียเงินไปมากก็อยากให้ตั้งใจเรียน เพื่ออนาคตของตัวเอง พ่อแม่จะได้ภูมิใจ และเป็นคนดีของสังคมก็เพียงพอแล้ว                 แม้จะต้องฝึกงานไปด้วยแต่ก็ไม่ได้ถือเป็นอุปสรรคต่อการทำงานพิเศษ เพราะแบทจะแบ่งเวลาจากการฝึกงาน และการเขียนข่าวมาทำงานพิเศษ ซึ่งจะเป็นช่วงเย็นหลังจากที่ฝึกงานเสร็จแล้ว หรือถ้ามีงานข่าวที่ต้องเขียนก็จะเขียนให้เสร็จเรียบร้อยก่อนจึงออกไปทำงาน แต่หากเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ไม่มีงานก็จะมาทำงานพิเศษได้อย่างเต็มที่ ซึ่งแบทมองว่า แม้จะต้องทำทั้งสองอย่างไปพร้อมๆ กันแต่เธอก็ไม่ได้คิดว่าเป็นเรื่องที่อยากลำบาก เพราะหากเรารู้จักที่จะแบ่งเวลา และรู้จักจัดลำดับความสำคัญของแต่ละอย่างให้เป็น การทำงานพิเศษควบคู่กับการเรียน หรือการฝึกงาน ก็คงจะเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยที่เราทุกคนก็สามารถทำได้          ค่าแรงพาร์ทไทม์                   เดือนพฤศจิกายน 2555 คณะกรรมการการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับขึ้นอัตราค่าจ้างรายชั่วโมงสำหรับนักเรียน นิสิตและนักศึกษา จากเดิม 30 บาทต่อชั่วโมง เป็น 40 บาทต่อชั่วโมง และได้ออกเป็นประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเรื่องอัตราค่าจ้างรายชั่วโมงสำหรับนักเรียน นิสิตและนักศึกษาฉบับที่ 2 โดยเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ลักษณะงานพาร์ทไทม์เป็นงานที่มีความปลอดภัยและไม่เสี่ยงอันตราย ห้ามทำงานในสถานที่อันตราย สถานที่เล่นการพนัน สถานบันเทิงยามค่ำคืนที่มีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัว และห้ามผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีทำงานพาร์ทไทม์ ต้องแต่งกายด้วยเครื่องแบบที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นนักเรียน นักศึกษา หรือหากแต่งกายด้วยชุดที่สถานประกอบการจัดให้ ก็ต้องมีป้ายสัญลักษณ์ที่แสดงชัดเจนว่า เป็นนักเรียน นักศึกษา ให้นายจ้างประกันรายได้ด้วยการจ้างงานไม่ต่ำกว่าวันละ 4 ชั่วโมง จ้างงานนอกเวลาเรียนในช่วงเปิดภาคเรียน วันเรียนปกติไม่เกินวันละ 4 ชั่วโมง วันหยุดเรียน วันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ไม่เกินวันละ 6 ชั่วโมง ในช่วงปิดภาคเรียนไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง สัปดาห์ละไม่เกิน 36 ชั่วโมง   ....................................... (ฝึกงานไปด้วย-นวดไปด้วย ทุกนาทีมีค่าลดภาระพ่อ-แม่ : คอลัมน์ท่องโลกเรียนรู้ : โดย...นิรมล สถานเมือง)                 

ค้นพบตัวเองพลิกโฉมครูแนะแนว

ค้นพบตัวเองพลิกโฉมครูแนะแนว
                         “ผมอยากทำงานเพื่อสังคม ไม่ได้หวังอะไรตอบแทน แค่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือคนที่เขาขาดก็พอแล้ว” หนึ่งในคำพูดของ ดร.อรรถวิท อุไรรัตน์ หรือ ปิ๊ก ลูกชายคนกลางของ ตระกูลอุไรรัตน์ ปัจจุบันอยู่ในตำแหน่ง "รองอธิการบดีฝ่ายแผนพัฒนาและแผนการเงิน มหาวิทยาลัยรังสิต" นั่นยิ่งทำให้หลายคนมองว่า ดร.อรรถวิท เกิดมาในครอบครัวที่พร้อมสรรพทุกสิ่ง ทั้งหน้าที่การงาน ครอบครัวและสถานะทางสังคม แต่ไฉนเลยเขาจึงอยากเดินหน้าทำงานเพื่อสังคม และวงการศึกษามากกว่านั่งบริหารงานตามครรลองชีวิตปกติ                          ถึงแม้ไม่ได้ปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ระดับชาติ แต่ "ดร.อรรถวิท" ก็ขอทำหน้าที่ในภาคเอกชน และในบทบาทของประชาชนคนหนึ่งที่ต้องการมองเห็นการเดินทางในสายการเรียนของเยาวชนรุ่นใหม่อย่างถูกทิศถูกทาง โดยใช้พื้นฐานจากประสบการณ์ตรงในชีวิตของตัวเขาเอง… เหตุเพราะในช่วงวัยเรียน ทางครอบครัวต้องการให้เขาเรียนสายวิศวกรรม ทั้งที่ตัวเองไม่ชอบ หรือรู้สึกถนัด แต่เพราะผู้ใหญ่มองว่าเป็นสาขาวิชาที่จบมาแล้วมีอนาคต มีงานทำ เขาจึงพยายามอดทนเรียนจนจบคว้าปริญญาสาขาวิศวกรรมมาได้ถึง 3 ใบ ในมหาวิทยาลัยชื่อดังของสหรัฐอเมริกา จนมีคำนำหน้าว่า ดอกเตอร์                          ดร.อรรถวิท ยอมรับว่า เป็นช่วงที่ทรมานมาก แต่ก็ทำให้นำหลักคิดทางวิศวกรรมมาคิดอย่าง เป็นระบบและปรับใช้ในชีวิตปัจจุบัน “ตอนนั้นอยากเรียนหลายอย่าง ทั้งการเมืองอย่างคุณพ่อ หรือทางด้านดนตรี แต่ที่บ้านอยากให้เรียนสายวิศวกรรม ก็ได้ไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งยอมรับว่าเป็นอะไรที่ยากมาก เพราะต้องเรียนทั้งภาษาอังกฤษและเรียนวิชาที่เราไม่ถนัด ก็ต้องพยายามมากกว่าคนอื่น เข้าห้องสมุดเพื่อทบทวน ต้องนอนเที่ยงคืน ตีหนึ่ง ตลอด”                          หลังจากคว้าใบปริญญาตรีด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ดร.อรรถวิท ก็สู้และลุยเรียนต่อปริญญาโทและปริญญาเอกด้านวิศวกรรมอุตสาหกรรมต่อจนจบสมความตั้งใจของครอบครัว แต่นั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เขาตระหนักมาตลอดเวลาว่า "การเรียนในสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบนั้นมีความรู้สึกอย่างไร มันยากและทรมานมากขนาดไหน"                          กระทั่ง ดร.อรรถวิท ได้มาเริ่มทำงานในมหาวิทยาลัยรังสิต ก็มีโอกาสเป็นอาจารย์สอนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ และได้นำวิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมาใช้เพื่อพัฒนานักศึกษา ก่อนจะมานั่งแท่นบริหารอย่างเต็มตัว จากวันนั้นถึงวันนี้เป็นเวลากว่าสิบปีแล้วที่ทำหน้าที่ในวงการการศึกษามาตลอด ไม่ใช่เฉพาะในรั้วมหาวิทยาลัยรังสิต แต่ยังรวมไปถึงกิจกรรมเพื่อเด็กและเยาวชนที่ขาดโอกาสด้วย นั่นเป็นเพียงแค่เสี้ยวหนึ่งในแนวความคิดของเขา จนเมื่อประมาณห้าปีที่แล้ว ดร.อรรถวิทจึ งมีแนวความคิดใหม่...                          “ผมมีแนวความคิดเรื่องการค้นพบตัวเองของเด็กไทย เพราะเด็กหลายคนต้องเรียนในสิ่งที่เขาไม่ถนัด บางคนเรียนจบสูงเป็นดอกเตอร์ แต่ก็ไม่ได้ทำงานที่ตัวเองรัก ผมกับเพื่อนจึงเริ่มทำเว็บไซต์ B-Net ซึ่งจะมีการให้น้องๆ ได้เข้ามาทำแบบทดสอบ ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นใหม่ให้มีความแม่นยำมากขึ้น แต่พอทำเว็บไซต์ไปได้ระยะหนึ่ง ก็รู้สึกว่าไม่พอ                          เลยเริ่มขยับมาทำรายการโทรทัศน์ ชื่อรายการ ห้องแนะแนว ทางช่อง TNN 2 ผมจะรับหน้าที่เป็นพิธีกรในช่วงสัมภาษณ์แขกรับเชิญ ที่เป็นรุ่นพี่ในสาขาอาชีพต่างๆ เพื่อให้น้องๆ ได้รับรู้แนวทางจากประสบการณ์ตรงผ่านคนที่ ประสบความสำเร็จ รายการนี้ก็เป็นโปรเจกท์พิเศษที่ผมตั้งใจทำร่วมกับทีมงาน โดยมีมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นแค่ผู้สนับสนุน เพราะเราก็ไม่ได้หวังผลในด้านของสิ่งที่น้องๆ จะได้มากกว่าผลกำไร”                          ดร.อรรถวิท เชื่อว่า การค้นพบตัวเองคือจุดเริ่มต้นของการประสบความสำเร็จในชีวิต "มีหลายคนที่เรียนเก่ง จบมาในสาขาอาชีพที่ดีๆ แต่เมื่อไม่ได้ประกอบอาชีพนั้นๆ สังคมก็มีแต่คนเก่งไม่จริง เพราะไม่ได้นำวิชาความรู้ที่เรียนมาใช้ เหมือนกับไปแย่งสิทธิ์ของคนที่ต้องการเรียน จริงๆ ผมจึงเห็นว่า การค้นพบตัวเองนั้นสำคัญมาก ยิ่งถ้ารู้ตัวเร็วก็จะทำให้ก้าวไปถูกทาง มุ่งมั่นไปตามสิ่งที่เขาอยากเป็นจริงๆ จังๆ เพื่อนำความรู้มาพัฒนาสังคม เมื่อมีคนเก่งมากๆ สังคมก็จะอยู่ได้ ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ความคิดของผมคนเดียว แต่มาจากการสัมภาษณ์ 50-60 คน ที่ผ่านมาก็เชื่ออย่างนั้นเช่นกัน”                          ณ วันนี้ ดร.อรรถวิท ขอทำหน้าที่เสมือนครูแนะแนวเพื่อปูทางให้น้องๆ เดินสู่ความสำเร็จ ด้วยแนวคิดการค้นพบตัวเอง เพื่อให้สังคมจรรโลงไปด้วยคนเก่งที่พร้อมจะพัฒนาประเทศอย่างเต็มความสามารถด้วยหัวใจของความเป็น “ครู”                          เบริ์บ : "ผมจึงเห็นว่าการค้นพบตัวเองนั้นสำคัญมาก ยิ่งถ้ารู้ตัวเร็วก็จะทำให้ก้าวไปถูกทาง มุ่งมั่นไปตามสิ่งที่เขาอยากเป็นจริงๆ จังๆ เพื่อนำความรู้มาพัฒนาสังคม เมื่อมีคนเก่งมากๆ สังคมก็จะอยู่ได้"     -------------------------------- (พลิกโฉม 'ครูแนะแนว' จากการค้นพบตัวเอง : นราธิป จุ่นพิจารณ์ ... รายงาน)      

เอแบคปัดรับจ๊อบฟันงบก้อนโต ติงสื่อนำเสนอเกินจริง

เอแบคปัดรับจ๊อบฟันงบก้อนโต ติงสื่อนำเสนอเกินจริง
เอแบคโพลล์ โต้ข่าวรับจ๊อบฟันงบก้อนโตทำองค์กรเสียหาย จวกข้อมูลคลาดเคลื่อนทำประชาชนเข้าใจผิด ย้ำโปร่งใส มีจุดยืนไม่ยุ่งเกี่ยวการเมืองและนักการเมือง จี้ให้ตรวจสอบทุกสถาบันเพื่อความเป็นธรรม พร้อมยุติบทบาทหากสังคมไม่ต้องการ...ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวถึงกรณีการเผยแพร่ข่าวโดยพาดหัว สวนดุสิต รับจ๊อบกระฉูด 500 ล้าน–เอแบค 105 ล้าน ในช่วงที่ผ่านมาของสำนักข่าวแห่งหนึ่ง ว่า อาจทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดและเกิดความไม่เป็นธรรม กระทบต่อขวัญกำลังใจของบุคลากรของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ โดยยืนยันว่า มีจุดยืนไม่ยุ่งเกี่ยวกับผลประโยชน์ทางการเมือง ไม่รับงาน ไม่รับเงินจากนักการเมือง แต่ทำงานวิชาการให้กับข้าราชการ เพราะเชื่อว่าข้าราชการจะนำข้อมูลจากการวิจัยไปทำประโยชน์ต่อประเทศชาติ ชุมชน และประชาชน ซึ่งจากการนำเสนอข่าวดังกล่าว อยากให้ตรวจสอบทุกมหาวิทยาลัย เพราะส่วนใหญ่มีนักวิชาการของสถาบันออกมาชี้นำ สนับสนุน ต่อต้าน รัฐบาลแต่ละยุคแต่ละสมัย จึงอยากให้ผู้เกี่ยวข้องทบทวนความเป็นธรรมในการเสนอข่าวให้เอแบคโพลล์พร้อมย้ำว่า งานที่เอแบคโพลล์ได้มาแต่ละครั้ง ได้มีคณะกรรมการของหน่วยงานราชการพิจารณาตัดสินใจ และเป็นการแข่งขันในเชิงระเบียบวิธีวิจัยและงบประมาณ เป็นไปด้วยความโปร่งใสของกระบวนการ ไม่มีความสัมพันธ์ส่วนตัวแต่อย่างใด โดยบางงานเสี่ยงอันตรายต่อชีวิตของนักวิจัยและนักศึกษา เช่น พื้นที่แพร่ระบาดของยาเสพติดและอาชญากรรมระดับรุนแรง เช่น พื้นที่ 70 ไร่ พื้นที่ล็อก 1–3 พื้นที่ล็อก 4–6 และพื้นที่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงอยากให้สำนักข่าวอื่นๆ ได้มีโอกาสลงเดินสำรวจเคาะประตูบ้านของชาวบ้านในพื้นที่เหล่านั้นด้วยกัน เพื่อจะได้เข้าใจการทำงานของเอแบคโพลล์นอกจากนี้ ยังพบความคลาดเคลื่อนในการนำเสนอข้อมูลข่าว ในตารางงบประมาณที่มีการนำเสนอในหลายโครงการ ซึ่งยืนยันไม่เคยรับงาน ไม่เคยรับเงิน จำนวนมากขนาดนั้น ได้แก่ โครงการของการท่าเรือฯ การประปาฯ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นต้น จึงขอให้สำนักข่าวต่างๆ พิจารณาข้อมูล และป้องกันการเข้าใจผิดในหมู่ประชาชน ก่อนนำเสนอข่าวสารที่อาจทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดได้ต่อบทบาทของเอแบคโพลล์ในสังคมไทย เพราะการรับงานมาจากหน่วยงานราชการไม่ได้หมายความว่า จะถูกฝ่ายการเมืองครอบงำ จนทำให้เสียความเป็นกลางทางวิชาการไปท้ายที่สุดนี้ เอแบคโพลล์ยืนยันในเจตนารมณ์ของการก่อตั้งขึ้นมา เพื่อเป็นสถาบันที่ประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัย ในการค้นหาคำตอบ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในโลกแห่งความเป็นจริง และเพื่อให้นักเรียนนักศึกษามีรายได้สนับสนุนเป็นทุนการศึกษา แต่ถ้าวันหนึ่งสังคมไทยไม่ต้องการ เราก็พร้อมจะยุติบทบาทนี้ทันที.

พศ.หวั่นตั้ง พุทธสภา งานทับซ้อนกรมการศาสนา

พศ.หวั่นตั้ง พุทธสภา งานทับซ้อนกรมการศาสนา
ส่อเค้าวุ่น!! ตั้งพุทธสภาหนุนงานศาสนาของกรมการศาสนา รอง ผอ.สำนักพุทธฯ วิพากษ์ 7 ประเด็นให้เร่งสางแก้ปัญหาก่อน ชี้ทำงานทับซ้อนกับ มส. เมื่อวันที่ 10 ก.พ. นายอำนาจ บัวศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า จากการที่ตนได้เข้าร่วมการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดตั้ง “พุทธสภา” ของกรมการศาสนา (ศน.) กระทรวงวัฒนธรรม โดยพุทธสภาจะผนึกกำลังภาคเครือข่าย 9 ประเภท ได้แก่ 1.ภาคีเครือข่ายภาคพระสงฆ์ 2.สตรี 3.องค์กรการกุศล 4.ชุมชน 5.ภาคธุรกิจ 6.ภาควิชาการและวิชาชีพ 7.สื่อมวลชน 8.ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา และ 9.เด็กและเยาวชน เพื่อส่งเสริมงานด้านพระพุทธศาสนา โดยมีทั้งพุทธสภาระดับชาติ และระดับจังหวัดนั้นตนได้เสนอในที่ประชุมไปว่า ทาง พศ. เห็นด้วยที่จะมีหน่วยงานจากองค์กรประชาชน ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างเข้มแข็ง แต่ได้ตั้งข้อสังเกต 7 ประการ เกี่ยวกับการจัดตั้งพุทธสภาว่าจะสามารถดำเนินการได้จริงหรือไม่ คือ 1.เมื่อตั้งพุทธสภาเป็นองค์กรของภาคเอกชนส่งเสริมพระพุทธศาสนา แต่กลับตั้งวัฒนธรรมจังหวัดเป็นเลขาธิการคณะกรรมการระดับจังหวัด และรองอธิบดี ศน. เป็นเลขาธิการคณะกรรมการระดับชาติ ถือว่าผิดวัตถุประสงค์ เพราะองค์กรเอกชนต้องมีการเลือกเลขาธิการกันเอง ไม่ใช่ให้ทางราชการเข้าไปกำหนด 2.มีการตั้งให้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเป็นที่ปรึกษาพุทธสภาในระดับจังหวัด ผอ.พศ. เป็นที่ปรึกษาพุทธสภาระดับชาติ หากจังหวัดไม่ได้รับความร่วมมือเป็นที่ปรึกษาให้ ทาง ศน. จะทำอย่างไร 3.การประกาศจัดตั้งพุทธสภาอาศัยกฎหมายอะไรรองรับ ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายอะไรรองรับ 4.การดำเนินงานของ พศ.กับ ศน.มีความทับซ้อนกันอยู่ในรูปแบบพัฒนากิจการด้านพระพุทธศาสนา และยังไม่มีการแบ่งแยกให้ชัดเจนเลย แต่ก็มีการจัดตั้งพุทธสภาขึ้นมาทำหน้าที่เดียวกันนี้อีก ต่อไปหากมีกรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างมหาเถรสมาคม (มส.) พศ. และพุทธสภา อะไรจะเกิดขึ้น5.การทำงานพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยพุทธบริษัท 4 คือ พระสงฆ์ ภิกษุ อุบาสก อุบาสิกา แต่การจัดตั้งพุทธสภาเป็นองค์กรเอกชน เป็นการทำงานของอุบาสก อุบาสิกา ส่วนการทำงานของพระสงฆ์มี พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 และ มส. อีกส่วนหนึ่ง เหมือนเป็นการแยกพุทธบริษัท 4 ออกจากกัน 6.การจัดตั้งพุทธสภาจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการแล้วในเดือน ก.พ.-มี.ค.นี้ และมีการให้พระสงฆ์เป็นรองประธานพุทธสภา แต่ มส. ซึ่งดูแลพระสงฆ์ยังไม่ได้รับทราบ พิจารณาหรือเห็นชอบด้วย จะดำเนินการต่อไปได้อย่างไร พระสงฆ์จะกล้ามาร่วมทำงานด้วยหรือไม่ 7. ถ้ามีการตั้งวัฒนธรรมจังหวัดเป็นเลขาธิการคณะกรรมการระดับจังหวัด และรองอธิบดี ศน. เป็นเลขาธิการ คณะกรรมการระดับชาติโดยตำแหน่ง หากวัฒนธรรมจังหวัดหรือรองอธิบดี ศน. นับถือศาสนาอื่น โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดภาคใต้จะทำอย่างไร “พูดง่ายๆ ในขณะที่ ศน. กับ พศ. มีความทับซ้อนกันอยู่ยังไม่มีความชัดเจนว่าแตกต่างกันอย่างไร แล้วจะมีการจัดตั้งพุทธสภาขึ้นมาทับซ้อนกับการทำงานของ มส. อีก แล้วเวลาทำงานจะทำอย่างไร จะมาพูดว่าช่วยกันทำไม่ได้ เพราะการเขียนโครงการเสนอของบประมาณจากรัฐบาลต้องชัดเจนในเรื่องของเนื้องาน หากทาง ศน. มีคำตอบทั้ง 7 ประการได้เชื่อว่าทุกฝ่ายจะให้ความร่วมมือ” รอง ผอ.พศ. กล่าว.

สธ.เตือนปีนี้ไข้เลือดออกรุนแรง คาดผู้ป่วยพุ่ง 1.2 แสนคน

สธ.เตือนปีนี้ไข้เลือดออกรุนแรง คาดผู้ป่วยพุ่ง 1.2 แสนคน
สธ.เตือนปีนี้ “ไข้เลือดออก” รุนแรง ยอดผู้ป่วยมีสิทธิ์พุ่งมากถึง 1.2 แสน ตาย 120 ราย สั่ง สวจ.ทั่วประเทศตัดวงจรยุงลายก่อนระบาดหนักช่วงหน้าฝน โดยเฉพาะใน ร.ร. -ศูนย์เด็กเล็ก ...เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2556 นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 5 ก.พ. 2556 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 5,739 ราย ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึง 5.4 เท่า มีผู้เสียชีวิตแล้ว 4 ราย โดยเฉพาะมีผู้ป่วยไข้เลือดออกในช่วงฤดูหนาว เป็นสัญญาณเตือนว่า แนวโน้มจำนวนผู้ป่วยอาจสูงถึง 100,000-120,000 ราย เสียชีวิต 100-120 ราย หากไม่มีการณรงค์ป้องกันควบคุมยุงลายอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง โดยขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดวอร์รูมไข้เลือดออกที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข วางมาตรการป้องกันควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก และติดตามประเมินผลการดำเนินงานของพื้นที่ทุกสัปดาห์ เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยให้เหลือน้อยที่สุด และป้องกันการเสียชีวิตให้ได้มากที่สุดนอกจากนี้ ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด เร่งตัดกำลังยุงลายก่อนถึงฤดูกาลระบาดของโรคไข้เลือดออก ในช่วงฤดูฝน ประมาณ พ.ค. -ส.ค. โดยให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุข รณรงค์ให้ประชาชนและทุกภาคส่วน เร่งสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบ้านและชุมชน ตั้งแต่เดือนนี้จนถึง มี.ค.เพื่อลดการป่วย โดยเฉพาะในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็ก ต้องไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะเก็บน้ำทุกชนิด เพราะหากมียุงลายแม้เพียงตัวเดียว อาจทำให้เกิดการระบาดได้ และให้กรมการแพทย์จัดอบรมแพทย์ ทั้งกุมารแพทย์ อายุรแพทย์ที่รักษาผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ และพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยอย่างดีที่สุด ลดอัตราการเสียชีวิตให้เหลือน้อยที่สุดทั้งนี้ ผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุที่มีไข้ ให้สันนิษฐานไปก่อนว่าเป็นโรคไข้เลือดออก เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มพบมากขึ้นในกลุ่มเด็กโต ผู้ใหญ่ และผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ที่สำคัญผู้ป่วยร้อยละ 90 จะไม่มีอาการแสดง จะมีเพียงไข้ต่ำๆ ไม่มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ทำให้ยากต่อการวินิจฉัยโรค อาจเกิดอาการรุนแรง และเสียชีวิตได้ ด้าน นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า  ผู้ป่วยไข้เลือดออกทุกราย พบว่ากว่าร้อยละ 80 ถูกยุงลายในบ้านกัด ที่เหลือเป็นยุงที่อยู่ในบริเวณบ้าน โดยจุดที่พบลูกน้ำยุงลายมากที่สุดคือภาชนะเก็บน้ำภายในบ้านพบร้อยละ 60 ที่เหลือเป็นภาชนะที่ไม่ได้ใช้ และเศษวัสดุที่เป็นขยะในบริเวณรอบๆ บ้าน เชื้อที่พบส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ที่ 3 ซึ่งคาดว่าจะทำให้สถานการณ์ไข้เลือดออกปีนี้รุนแรง เนื่องจากคนส่วนใหญ่ยังไม่มีภูมิต้านทาน ดังนั้น สิ่งที่ประชาชนจะสามารถป้องกันได้ คือการร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายที่อยู่ในภาชนะเก็บน้ำภายในบ้านก่อนที่จะกลายเป็นตัวยุงเต็มวัยทุกอาทิตย์โดยปิดฝาภาชนะให้สนิท หากเป็นภาชนะที่ไม่มีฝาปิด เช่น แจกันไม้ประดับ จานรองขาตู้กับข้าว ให้เติมน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ และขัดล้างภาชนะก่อนเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกสัปดาห์ เพื่อกำจัดไข่ยุงที่เกาะอยู่ภายในภาชนะ ทั้งนี้ ยุงลายตัวเมีย 1 ตัวหลังผสมพันธุ์จะตั้งท้องและวางไข่ได้ตลอดชีวิตครั้งละประมาณ 100 ฟอง มีชีวิตอยู่ประมาณ 1 เดือน ไข่ยุงทนต่อสภาพความแห้งแล้งได้นานหลายเดือน เมื่อไข่ถูกน้ำท่วมถึงจะฟักตัวกลายเป็นลูกน้ำอย่างรวดเร็วภายในเวลา 20 – 60 นาที.

Blog Archive