Thursday, March 18, 2010

ชี้ครูน้อยทำผิดกม.คุ้มครองเด็ก-ค้านพรบ.สังคมสงเคราะห์

ชี้ครูน้อยทำผิดกม.คุ้มครองเด็ก-ค้านพรบ.สังคมสงเคราะห์

ผอ.มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ระบุ ครูน้อย ทำผิด กม.คุ้มครองเด็ก วิชาชีพสังคมสงเคราะห์-อัดเงินบริจาคพรรคการเมือง ค้านร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมวิชาชีพสังคมสงเคราะห์...เมื่อวันที่ 18 ก.พ. ที่โรงแรมปรินซ์พาเลซ มูลนิธิศาสตราจารย์ปกรณ์ อังศุสิงห์ จัดพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณนักสงเคราะห์ดีเด่นประจำปี 2552 โดย ศ.ธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี เป็นประธานในพิธี มีผู้ได้รับคัดเลือกนักสงเคราะห์ดีเด่นทั้งสิ้น 17 คน ต่อมานายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผอ.มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก กล่าวในการเสวนาเรื่อง การพัฒนาคุณภาพนักสังคมสงเคราะห์ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ว่า บทบาทของนักสังคมสงเคราะห์คือการช่วยเหลือหรือทำให้ผู้รับบริการหรือลูกค้าช่วยเหลือตนเองให้ได้ หากไม่สามารถช่วยผู้รับบริการได้โดยตรงก็ต้องช่วยครอบครัวหรือชุมชนให้ไปค้ำจุนช่วยเหลือผู้รับบริการต่อไป ขณะเดียวกันลูกค้าที่มารับบริการส่วนใหญ่หวังที่พึ่งนักสังคมสงเคราะห์ไม่สามารถที่จะไปเรียกเก็บค่าบริการได้เหมือนหมอ ทนาย ดังนั้นจึงไม่เห็นด้วยที่ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ... ซึ่งผ่านการอนุมัติหลักการจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) อยู่ระหว่างกฤษฎีกาพิจารณา ที่กำหนดให้มีใบประกอบวิชาชีพนักสังคมสงเคราะห์ และเรียกเก็บค่าใบประกอบวิชาชีพปีละ 5,000 บาท ซึ่งตนผิดหวังอย่างมากกับการที่นักสังคมสงเคราะห์กินกันเอง และไม่แน่ใจว่าใบประกอบวิชาชีพที่ว่าจะทำให้มีศักดิ์ มีสิทธิ์ อำนาจหน้าที่ใดๆ เพิ่มจากที่ไม่จดทะเบียน ซึ่งตนเป็นคนหนึ่งที่จะไม่จดทะเบียน นายสรรพสิทธิ์ เห็นว่าสิ่งที่ควรดำเนินการคือการให้อำนาจสภาวิชาชีพมีบทบาทในการควบคุมมาตรฐาน และจัดสรรงบประมาณด้านการสังคมสงเคราะห์ให้เป็นไปตามที่ควรจะเป็น อย่างเช่นกรณีปัญหาบ้านครูน้อย หากตนเป็นสภาวิชาชีพก็ต้องเข้าไปควบคุมและให้ยุติการทำงาน เพราะครูน้อยไม่ได้ทำตามมาตรฐานของ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กมาตรา 23 ที่กำหนดผู้ปกครองต้องอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน จึงเป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นไปตามหลักวิชาชีพ สังคมสงเคราะห์ การร่างกฎหมายในอนาคตควรจะชี้นำให้ธุรกิจ ผู้ประกอบการมีส่วนช่วยเหลือเอื้อต่อสังคม แทนการให้ผู้เสียภาษีไปบริจาคเงินให้กับนักการเมืองหรือพรรคการเมือง ทั้งที่นักการเมืองส่วนใหญ่ทำอยู่ 2 เรื่องคือ ลดแลกแจกแถม ใช้เงินสุรุ่ยสุร่ายกับการสร้างถนนปลอดฝุ่น ทั้งที่ชาวบ้านส่วนใหญ่อยู่ในทุ่งนาไม่ได้อยู่ติดถนน ไม่ได้เกิดผลตอบสนองต่อคุณภาพชีวิตของชาวบ้านเลย เรื่องที่สองคือการหาผลประโยชน์จากงบประมาณแผ่นดิน อย่างเช่น กรณี จีที 200 แทนที่จะนำภาษีไปช่วยเหลืองานสังคมสงเคราะห์ หรือช่วยเหลือหน่วยงานรัฐที่ไม่ได้งบประมาณตามที่ควรจะเป็น เช่น พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หากเทียบกับประเทศแอฟริกา ซึ่งประชากรกว่า 40% มีรายได้ต่ำกว่ารายได้ขั้นต่ำเสียอีก แต่รัฐบาลยังนำงบประมาณแผ่นดินจากภาษีประชากรทุ่มให้กับงานสังคมสงเคราะห์ ถึง 1% ขณะที่ประเทศไทยสนับสนุนงบด้านนี้เพียง 0.6%.


NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive