Thursday, March 18, 2010

ลดปัญหาเพลี้ยกระโดดชาวนาใช้วิธีไถกลบตอซัง

ลดปัญหาเพลี้ยกระโดดชาวนาใช้วิธีไถกลบตอซัง

เพื่อตัดวงจรอาหารของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ที่เป็นพาหะของโรค และเว้นระยะการทำนา 2 เดือน และควรเปลี่ยนพันธุ์ข้าว อาทิ พันธุ์ กข 29 กข 31 กข 41 พิษณุโลก 2 สุพรรณบุรี 2...นายประเสริฐ โกศัลวิตร อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยถึงรายงานที่ได้รับจากศูนย์อำนวยการควบคุมกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (War room) ที่สำรวจพบพื้นที่การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งผลจากการประเมินสถานการณ์พบว่า พื้นที่การระบาดใน 8 จังหวัดคือ พิษณุโลก อุทัยธานี กำแพงเพชร พิจิตร อ่างทอง ปทุมธานี ชัยนาท และลพบุรี มีปริมาณลดลงเหลือ 3.98 แสนไร่ แต่ยังคงพบการระบาดของโรคใบหงิก โรคเขียวเตี้ย ซึ่งมีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นพาหะใน 11 จังหวัด คือ จังหวัดพิษณุโลก อุทัยธานี กำแพงเพชร พิจิตร อ่างทอง ปทุมธานี ชัยนาท นครสวรรค์ สุพรรณบุรี นครนายก และนนทบุรี ซึ่งมีแนวโน้มการระบาดเพิ่มขึ้นทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างยั่งยืน อีกทั้งเป็นการตัดวงจรอาหารของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่เป็นพาหะของโรค เกษตรกรต้องทำการไถกลบต้นข้าวในพื้นที่ระบาดและเว้นระยะการทำนา 2 เดือน สำหรับการป้องกันกำจัดโรคเขียวเตี้ยและโรคใบหงิก นอกจากวิธีดังกล่าวแล้วหากพบต้นที่เป็นโรคน้อยกว่าร้อยละ 10 ให้ถอนฝังดินหรือเผา ส่วนแปลงที่พบโรคในระยะรวงหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ให้ดำเนินการไถกลบตอซัง เพื่อเป็นการทำลายแหล่งสะสมของโรค ที่ก่อให้เกิดการระบาดในรอบการปลูกครั้งต่อไป และควรเปลี่ยนพันธุ์ข้าว อาทิ พันธุ์ กข 29 กข 31 กข 41 พิษณุโลก 2 สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 3 และสุพรรณบุรี 90 ในฤดูการเพาะปลูก.

NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive