Wednesday, March 31, 2010

อาชีวะเพชรให้ทุนเรียนผ้าสร้างอาชีพอยู่ได้พอเพียง

อาชีวะเพชรให้ทุนเรียนผ้าสร้างอาชีพอยู่ได้พอเพียง



คมชัดลึก :"ปีที่แล้วแผนกผ้าและเครื่องแต่งกายไม่เปิดรับนักศึกษา แต่ว่าปีนี้ ผอ.ฉันทนา พิพัฒน์บรรณกิจ มีนโยบายให้รับนักศึกษาทั้งระดับ ปวช.และ ปวส. ห้องละ 40 คน โดยให้ทุนการศึกษาฟรีทั้งหมดสำหรับผู้ที่ประสงค์จะเรียนด้านนี้ เพื่อส่งเสริมให้มีผู้จบออกไปมีอาชีพติดตัว สามารถทำงานได้ เพราะคนที่เรียนแผนกนี้อย่างน้อยๆ ต้องรับซ่อม ตัด ปะ ผ้าได้อยู่แล้ว"






 ภัทรกรเสียงสนั่น ครูแผนกผ้าและเครื่องแต่งกาย วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี กล่าว
วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรีเปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2477 ณ พระราชวังรามราชนิเวศน์ หรือวังบ้านปืน ปี 2482 ย้ายมาอยู่ที่อยู่ปัจจุบันบนที่ดินสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เนื้อที่26 ไร่ 74.89 ตารางวา บุคลานุสรณ์ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช พระโอรสลำดับที่  75 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาเลื่อน มีตึกอุรุพงษ์เป็นอาคารที่สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช เป็นตึกอำนวยการ
เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือ ปวช. และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือ ปวส. แผนกวิชาการบัญชี การตลาด เลขานุการคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ธุรกิจค้าปลีก ศิลปกรรมผ้าและเครื่องแต่งกาย คหกรรมอาหารและโภชนาการ การโรงแรมและการท่องเที่ยว หลักสูตรทวิภาคีด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม ในอนาคตคาดว่าจะเปิดสอนระดับปริญญาตรีด้านการท่องเที่ยวและธุรกิจโรงแรมด้วย
"เด็กที่เรียนแผนกผ้าและเครื่องแต่งกาย จะต้องฝึกงานในสถานประกอบการ ห้องเสื้อต่างๆ เพื่อให้เกิดทักษะอาชีพก่อนจบออกไปทำงาน โดยครูผู้สอนจะต้องหาแหล่งฝึกประสบการณ์ให้แก่นักเรียน นักศึกษา" อ.กัลยาณีรอดรักษา หัวหน้าแผนกผ้าและเครื่องแต่งกายอธิบาย
นอกจากนี้ระหว่างที่เรียนนักศึกษาจะต้องเรียนชุดเพื่อการค้า5 ชุด ต่อ 1 ภาคเรียน แบ่งเป็นชุดทำงาน 2 ชุดค่าแรงแรงละ 250 บาท ที่เหลือเป็นชุดนอน หรือ กางเกง กระโปรง ค่าแรงตัวละ 100 บาท ส่วนสูทจะคิดราคา 150 บาท โดยลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นครู อาจารย์ในสถาบันจะต้องนำผ้ามาเอง และที่แผนกผ้ายังเปิดคลินิกผ้า รับซ่อม ปะ ผ้า เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะฝีมืออีกด้วย
อย่างไรก็ตามนักศึกษาที่จบแผนกผ้าและเครื่องแต่งกายทั้งปวช.และปวส.ส่วนใหญ่จะไปทำงานตามโรงงานเย็บผ้า ภายในพื้นที่ อาทิ โรงงานของไฟนาว หรือ โรงงานเย็บผ้าย่าน อ.เขาย้อย หรือไปทำงานโรงงานเย็บผ้าตามแหล่งต่างๆ มีเพียงส่วนน้อยที่ทำงานห้องเสื้อ เพราะไม่มีประสบการณ์ แม้ว่าจะเคยไปฝึกงานตามห้องเสื้อใหญ่ๆ แต่จะไม่ได้ลงมือปฏิบัติจริง
"นักศึกษาที่ไปฝึกงานตามห้องเสื้อจะได้ทำงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะมากนัก เช่น เย็บรังดุม หรือ สอยผ้า เป็นต้น จะต้องใช้เวลาในการฝึกในทักษะประมาณ 1 ปี จะมีความชำนาญเปิดร้านเสื้อเองได้" ครูภัทรกรกล่าว
อย่างเช่น "สนิตย์ โด่งดัง" ที่เรียนจบ ปวส.จากสถาบันแห่งนี้ตั้งแต่ปี 2542 ไปทำงานที่โรงงานไฟนาวประมาณ 6-7 เดือน จากนั้นไปทำงานโรงงานเย็บรองเท้าที่ อ.มหาชัย 4-5 เดือน และกลับมาทำงานที่ อ.เขาย้อย ที่โรงงานบิชอปอยู่ 8 ปี ประสบอุบัติเหตุขาขวาหักต้องดามเหล็ก ต้องพักงานอยู่เป็นปี แม้ว่าบริษัทจะให้โอกาสไปทำงานตำแหน่งเดิม "สนิตย์" ก็รู้สึกทำได้ไม่ดีอย่างที่ผ่านมา
เธอจึงตัดสินใจลาออกและไปดาวน์จักรเย็บผ้ามา 1 หลังราคา 14,000 บาท รับจ้าง ซ่อม ตัด ปะ ผ้าอยู่ที่บ้าน เพียงแค่ระยะเวลา 6 เดือน รับจ้างเย็บผ้าถุงผืนละ 15 บาท ตัดขากางเกงผ้าธรรมดา 30 ยีน 40 บาท ทุกวันนี้ทำงานแทบไม่ทัน เพราะงานเยอะมาก
"ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ จะเปิดร้านตั้งแต่เรียนจบโดยไม่ต้องไปทำงานโรงงานเลย เพราะจริงๆ แล้วงานเหล่านี้เราทำเป็นอยู่แล้ว และในอนาคตคาดว่าจะไปดาวน์จักรเย็บรังดุมมาอีก เพื่อที่จะรับงานได้หลากหลายมากกว่าการซ่อมแซมผ้าอย่างที่เป็นอยู่ ที่สำคัญรายรับที่ได้ก็มากพอที่จะเลี้ยงตัวได้อย่างพอเพียง ไม่ลำบาก และเป็นเจ้านายของตัวเองอีกด้วย" สนิตย์ กล่าว
"สนิตย์ " ฝากบอกรุ่นน้องที่สนใจเรียนสายอาชีพไปหาคำตอบให้กับตัวเองได้ในงาน โอเพ่นเฮ้าส์ 9-10 กุมภาพันธ์ สอบถามได้ที่โทร.0-3242-5557 ต่อ 154
0 หทัยรัตน์ ดีประเสริฐ 0
 








ข่าวที่เกี่ยวข้อง "เอสซีจี เปเปอร์" าเยี่ยมโรงเรียนตชด.ดูวิธีแปลงกระดาษเป็นอุปกรณ์การเกษตร เสาร์ที่ 30 มกราคม 2553

บ้านต้านภัยธรรมชาติไม่บาน-ที่มีเงินเท่าไรก็สร้างได้(2)พระญี่ปุ่นเปิดบาร์เหล้า !สปอนเซอร์ไม่เข้าเป้า งดเชิญทีมต่างชาติ บอลควีนส์คัพ

NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive