Wednesday, March 31, 2010

ลดต้นทุนการทำนา

ลดต้นทุนการทำนา





คมชัดลึก : ช่วงนี้ดูเหมือนว่ามีปัจจัยลบเหลือหลายที่กระหน่ำซ้ำเติมชาวนาไทย ทั้งเรื่องของศัตรูพืช โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และที่กำลังเผชิญหน้าขณะนี้คือ ภัยแล้ง ซึ่งปีนี้ภาวะภัยแล้งกระหน่ำอย่างรวดเร็วเหลือเกินครับ ถึงขนาดน้ำในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนต่างๆ ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก เหลือน้อยเต็มที่








 ตอนนี้รัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกรณรงค์ให้เกษตรกรชาวนาลดพื้นที่การทำนาปรังให้เหลือเพียง 9.5 ล้านไร่ จากพื้นที่ทั้งหมดกว่า 12 ล้านไร่ แต่การรณรงค์ดูเหมือนว่าไร้ผล เพราะหากดูข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศ ของกรมการข้าว ได้ประมาณการว่า มีเกษตรกรทำนาปรังกว่า 12 ล้านไร่ไปแล้ว
 ไหนๆ การรณรงค์ของรัฐบาลที่จะให้เกษตรกรลดพื้นที่ทำนาปรังไร้ผลแล้ว ผมจะแนะวิธีขั้นตอนการลดต้นทุนในการทำนา หลายคนอาจเข้าว่าผมเก่งด้านการทำนา ไม่ใช่หรอกครับ เพียงแต่ได้ข้อมูลจากอื่น คือกรมการข้าวนั่นเอง เห็นแล้วมีประโยชน์โดยตรงกับชาว เลยมาถ่ายทอดต่อครับ
 วิธีการลดต้นทุนในการทำนั้น ท่านรองฯ สำลี บุญญาวิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการข้าว บอกว่า เป็นวิธีการทำนาแบบง่ายๆ ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด และภัยแล้ง มี 4 ขั้นตอนครับ
 ขั้นแรก คือ การจัดการฟางให้เหมาะสม เพราะฟางข้าวนับเป็นทรัพยากรที่มีมูลค่ามหาศาล หากเกษตรกรมีการจัดการฟางในนาที่ดีและเหมาะสมจะเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งในการลดต้นทุนการผลิตข้าว วิธีการ คือ หลังเก็บเกี่ยวข้าวใช้รถแทรกเตอร์ไถกลบฟางปล่อยทิ้งไว้ในสภาพไม่มีน้ำขัง 15-30 วัน จากนั้นไขน้ำเข้าแปลงนา เตรียมดิน หรือหลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้วปล่อยให้แปลงนาและฟางแห้งประมาณ 15 วัน ไขน้ำเข้าแปลงนาให้ท่วมฟางใช้รถไถย่ำฟางตามด้วยเตรียมดิน หว่านข้าวโดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ดี 15-20 กิโลกรัมต่อไร่
 ขั้นที่สอง การจัดการทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิภาพด้วยการให้น้ำในนาแบบเปียกสลับแห้ง คือ หลังหว่านข้าวแล้ว ระบายน้ำออกจากแปลงนาให้แห้ง พ่นสารเคมีคุมวัชพืช ไขน้ำเข้าแปลงนาภายใน 7 วัน หลังพ่นสารคุมวัชพืชระดับไม่เกิน 5 เซนติเมตร แล้วปล่อยให้น้ำแห้งไปตามธรรมชาติจนผิวดินเริ่มแตกระแหง ไขน้ำเข้าแปลงที่ระดับ 5 เซนติเมตร ทำสลับกันจนถึงระยะกำเนิดช่อดอก ปล่อยให้น้ำขังในแปลงนาตลอดถึงช่วง 10 วันก่อนการเก็บเกี่ยวจึงระบายน้ำออก
 ขั้นตอนที่สาม การใส่ปุ๋ย เกษตรกรควรเก็บตัวอย่างดินวิเคราะห์ความอุดมสมบูรณ์ของดินก่อนใส่ปุ๋ย เพื่อจะได้รู้ว่าควรใส่ปุ๋ยเท่าไรและใช้แผ่นเทียบสีใบข้าว (แอลซีซี) ช่วยตัดสินใจว่าควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเมื่อใด เพื่อให้ตรงกับความต้องการของข้าว
 ขั้นตอนสุดท้ายคือ การจัดการโรค แมลงศัตรูข้าว ต้องมีการสุ่มสำรวจโรค แมลงศัตรูข้าวในนาก่อนการตัดสินใจใช้สารเคมี
 หากเกษตรกรสามารถปฏิบัติตามได้ เชื่อว่าจะมีรายได้จากผลผลิตอย่างเป็นกอบเป็นกำ เนื่องจากวิธีการดังกล่าวทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้มากถึงไร่ละ 6,000 บาท ทีเดียวครับ
"ดลมนัส  กาเจ"








ข่าวที่เกี่ยวข้องเมินลดพื้นที่ทำนาปรังรอบสองจับตาสารพัดปัญหาจะปะทุขึ้นจ.ม.ถึงผู้แทน
"ถอดใจ"
เครือข่ายฯวอนเสื้อแดงเคารพสิทธิ์คนกรุง คมชัดลึกตอน:มองคนกรุงเทพฯมองคนเสื้อแดง หลบลมร้อนเข้าถนนสายชะอม-บ้านบึงไม้อาณาจักรไม้ขุดล้อมใหญ่ที่สุดในไทย

NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive