Wednesday, March 31, 2010

คัดแอดมิชชั่น มติทปอ. ใช้เกณฑ์เดิม

คัดแอดมิชชั่น มติทปอ. ใช้เกณฑ์เดิม

ทปอ. ยัน ใช้เกณฑ์เดิมคัดแอดมิชชั่นปี 53-54 ไฟเขียวเฉพาะนักเรียน ม.6 สอบ GAT-PAT ปีละ 3 หน เผย ให้สอบเดือน ก.ค. หวังช่วยมหาวิทยาลัยภูมิภาครับตรง ลดภาระเด็ก ...จากการประชุมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย วันนี้ (31 ต.ค.) ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธาน ทปอ. เผย ภายหลังการประชุม ว่า ที่ประชุมมีมติให้ใช้หลักเกณฑ์เดิมในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในนระบบแอดมิชชั่น ปีการศึกษา 2553 และ 2554 เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน โดยประกอบด้วย คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรหรือจีพีเอเอ็กซ์ 20% คะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐานหรือโอเน็ต 30% คะแนนแบบวัดความถนัดทั่วไป หรือ GAT จำนวน 10-50% คะแนนแบบวัดความถนัดวิชาการ/วิชาชีพหรือ PAT จำนวน 0-40% โดยจะไม่เพ่ิมการสอบ PAT ใดๆ ทั้ง PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ และ PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์  ส่วนการสอบ GAT-PAT มีมติให้นักเรียน ม.6 เท่านั้นที่จะสอบได้ และ สอบได้ปีละ 3 ครั้ง คือ เดือน ก.ค. ต.ค.และ มี.ค. ในปีถัดไป และเก็บคะแนนไว้ได้ 2 ปี ส่วนข้อเสนอให้ใช้คะแนนดิบหรือคะแนนมาตรฐานนั้น ในปี 2553 จะใช้คะแนนดิบตามเดิม ส่วนปี  2554 ได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะรองประธาน ทปอ. กล่าวว่า ที่ประชุม ทปอ. หารือกันมากถึงข้อเสนอของกลุ่มคณะวิชาต่างๆ ที่เสนอให้มีการเพ่ิม  PAT ต่างๆ  แต่สุดท้าย ก็มีมติไม่เพ่ิม PAT เพื่อไม่ให้เด็กต้องสอบมากเกินไป ทั้งเห็นว่าปัญหาของคณะวิทยาศาสตร์ ไม่ได้อยู่ที่การสอบคัดเลือก แต่อยู่ที่ค่านิยมของเด็กที่ไม่สนใจเรียนด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นปัญหาระดับชาติ ที่ทุกฝ่ายพยายามแก้ไข โดยจะต้องจูงใจให้เด็กมาเรียนวิทยาศาสตร์มากขึ้น เช่น ให้ทุนเรียนถึงปริญญาเอก และ วางเส้นทางการพัฒนาอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ให้เด็กเห็นเส้นทางของอาชีพนี้ ด้าน รศ.ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี ประธานคณะทำงานแอดมิชชั่น กล่าวว่า เดิมคณะทำงานเสนอให้สอบ GAT-PAT ปีละ 2 ครั้ง คือ เดือน ต.ค.และ มี.ค.ในปีถัดไป แต่ที่ต้องเพ่ิมการสอบเดือน ก.ค. เพื่อรองรับระบบการรับตรงของมหาวิทยาลัยต่างจังหวัด ซึ่งเราไม่ต้องการให้มหาวิทยาลัยออกข้อสอบเอง และยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับเด็กและผู้ปกครอง  


NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive