Tuesday, April 13, 2010

สธ.เตรียมรถ-เรือกู้ชีพรับสถานการณ์ฉุกเฉิน

สธ.เตรียมรถ-เรือกู้ชีพรับสถานการณ์ฉุกเฉิน

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์สธ. เตรียมรถพยาบาล-เรือกู้ชีพรับสถานการณ์ฉุกเฉิน เตือนผู้ชุมนุมระวังท้องร่วง...นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข ในฐานะประธานศูนย์ปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ซึ่งเป็นศูนย์บัญชาการด้านการแพทย์ฉุกเฉินของจ.นนทบุรี ว่า กระทรวงสาธารณสุขมีศูนย์บัญชาการลักษณะนี้จำนวน 79 ศูนย์ทั่วประเทศ รวมทั้งศูนย์เอราวัณที่รับผิดชอบในเขตกรุงเทพฯ ด้วย สำหรับการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน มีการสำรองเตียงเฉพาะในเขตกทม.มีทั้งหมด 840 เตียง เป็นของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 93 เตียง สังกัดกทม. 100 เตียง สังกัดโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย 178 เตียง และโรงพยาบาลเอกชน 469 เตียง เตรียมรถพยาบาลไว้ประจำพื้นที่กรุงเทพฯ 4 จุด คือที่โรงพยาบาลสงฆ์ 6-7 คัน โรงพยาบาลมิชชั่น ซึ่งสภากาชาดไทย มูลนิธิร่วมกตัญญู และมูลนิธิอื่นๆ ร่วมกันรับผิดชอบ รวม 17 คัน โรงพยาบาลวชิรพยาบาล 4-5 คัน โรงพยาบาลกลาง 10 คัน  และยังมีเครือข่ายอีก 60 คัน รวม 100 คัน ที่พร้อมปฏิบัติการได้ทันที นอกจากนี้ได้เตรียมเรือกู้ชีพฉุกเฉินกว่า 40 ลำ เนื่องจากมีผู้ชุมนุมบางส่วนเดินทางมาทางเรือ โดยเป็นเรือกู้ชีพฉุกเฉินของกรมเจ้าท่า 20 ลำ กรมบรรเทาสาธารณภัย 20 ลำ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล 2 ลำ นอกจากนี้ทุกโรงพยาบาลได้สำรองออกซิเจน และเลือดไว้เต็มอัตรา รวม 6,800 ยูนิต นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในส่วนของ 7 จังหวัดปริมณฑล ได้สำรองเตียงว่างเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินไว้แล้วประกอบด้วย นนทบุรี 46 เตียง สมุทรปราการ 121 เตียง สมุทรสาคร 121 เตียง ปทุมธานี 80 เตียง สมุทรสงคราม 50 เตียง นครปฐม 51 เตียง และฉะเชิงเทรา 50 เตียงนพ.ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า สำหรับผู้ชุมนุมซึ่งมารวมตัวกันเป็นจำนวนมาก ขอให้ระมัดระวังเรื่องความสะอาดของอาหารและน้ำดื่ม เนื่องจากสภาพอากาศร้อน อบอ้าว เชื้อโรคโดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย จะเจริญเติบโตได้เร็ว การปรุงอาหารส่วนใหญ่ปรุงในสนามที่มีน้ำสะอาดใช้ค่อนข้างจำกัด หากมีการปนเปื้อนเชื้อโรค จะทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงหรืออาหารเป็นพิษพร้อมกันเป็นจำนวนมาก ส่วนผู้จำหน่ายอาหาร หรือผู้ประกอบอาหารให้ผู้ชุมนุม ควรแยกเขียงหั่นอาหารดิบและอาหารสุกจากกัน และไม่ควรนำเครื่องกระป๋อง น้ำขวด ผักสด เนื้อสัตว์ไปแช่ในถังน้ำแข็งที่ใช้สำหรับใส่น้ำดื่ม เนื่องจากน้ำแข็งมีโอกาสปนเปื้อนเชื้อโรคที่ติดอยู่กับขวด กระป๋อง ผักสด ทำให้ท้องเสียได้ จึงขอแนะนำให้ผู้ร่วมชุมนุมดื่มน้ำบรรจุขวดที่มีเครื่องหมาย อย. และให้ล้างมือหลังใช้ห้องน้ำ ห้องส้วมทุกครั้ง และก่อนรับประทานอาหาร อาหารต้องปรุงสุก หลีกเลี่ยงการกินอาหารสุกๆ ดิบๆ ประการสำคัญไม่ควรรับประทานอาหารที่ปรุงทิ้งไว้นานเกิน 4 ชั่วโมง โดยเฉพาะอาหารกล่อง เพื่อลดความเสี่ยงท้องเสียจากอาหารบูดเน่า


NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive