Friday, January 25, 2013

สกอ.ข้องใจไม่ถามความเห็นองค์กรหลัก นักวิชาการหนุนหวังแตะเบรกผลาญงบฯ

สกอ.ข้องใจไม่ถามความเห็นองค์กรหลัก นักวิชาการหนุนหวังแตะเบรกผลาญงบฯ
แนะ “พงศ์เทพ” ตั้งทีมกลั่นกรองรศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิชาการด้านการศึกษา กล่าวถึงกรณีกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะมีการปรับโครงสร้างการบริหารงานใหม่ โดยให้ทุกองค์กรหลักเสนองานที่เป็นนโยบายรัฐบาลและแผนยุทธศาสตร์ชาติผ่านสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.) ว่า ในฐานะที่ตนเคยทำงาน กับ ศธ. เห็นด้วยกับการปรับโครงสร้างครั้งนี้ เพราะที่ผ่านมาเมื่อมีการกระจายอำนาจให้องค์กรหลักพบว่าทุกแท่งอนุมัติงบประมาณโดยไม่มองถึงภาพรวมของชาติเกิดช่องว่างให้มีการทุจริตคอรัปชันทุ่มเงินกับการจัดงานอีเวนต์ แต่ละองค์กรหลักมีบอร์ดของตัวเอง ซึ่งไม่เคยมีใครฟังใคร ตนจึงเห็นด้วยกับการปรับรูปแบบเพื่อแตะเบรกความคล่องตัวขององค์กรหลัก ให้การใช้จ่ายงบฯเกิดความรอบคอบและเป็นไปตามนโยบายรัฐ อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่า รมว.ศธ.ควรตั้งคณะกรรมการขึ้นมากลั่นกรองงาน ประกอบด้วย รมว.ศธ. สำนักงบประมาณ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สภาวิจัย ภาคประชาชน นักวิชาการ หรือมีองค์กรหลักด้วย และดึงงบฯมาไว้ที่ส่วนกลางพิจารณาตามนโยบายของรัฐบาลและยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อตอบโจทย์ของปัญหาของชาติได้ อีกทั้งวิธีการนี้จะทำให้งานของ ศธ.ต่อเนื่อง แม้จะเปลี่ยน รมว.ศธ.ด้านนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายและการตัดสินใจของ รมว.ศธ. ซึ่งหากเห็นชอบทุกองค์กรหลักก็ต้องปฏิบัติตาม แต่ส่วนตัวมองว่าการบริหารงานรูปแบบเดิมไม่ดีอย่างไร และหากจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบใหม่ควรจะมีการสอบถามความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน เพราะแม้จะกำหนดว่าให้เสนองานผ่าน สป.ถึง รมว.ศธ.ในเรื่องที่เป็นนโยบายรัฐและแผนยุทธศาสตร์ แต่ทุกเรื่องที่องค์กรหลักดำเนินการไม่ใช่นโยบายรัฐบาลและแผนยุทธศาสตร์หรืออย่างไร อย่างกรณีมหาวิทยาลัยการเสนอแผนงานและงบประมาณก็เสนอตรงต่อสำนักงบประมาณไม่ได้ผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาอยู่แล้ว.

No comments:

Post a Comment

Blog Archive