Wednesday, December 19, 2012

เอ็นจีโอ-นักวิชาการดักคอปลอด ยึกยักออกกม.ห้ามขายเหล้าบนทางเท้า

เอ็นจีโอ-นักวิชาการดักคอปลอด ยึกยักออกกม.ห้ามขายเหล้าบนทางเท้า
เอ็นจีโอ-นักวิชาการ ดักคอ “ปลอดประสพ” หลังลังเล ออกกฎหมาย ห้ามขายเหล้าบนทางเท้า ซัดกลุ่มทุนเสียผลประโยชน์ ชงสร้างวาทกรรมขูดรีดคนจน ชี้ ร้านเหล้าริมทาง พุ่งเป้าเด็กเยาวชน...วันที่ 19 ธ.ค. ภก.สงกรานต์ ภาคโชคดี  ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.)  กล่าวถึงกรณีที่มติเห็นชอบร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทาง พ.ศ. ... ที่ล่าสุด นายปลอดประสพ สุรัสวดี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ออกมาระบุว่า ควรใช้มาตรการทางสังคมมาดูแล และไม่มั่นใจว่า การออกกฎหมายจะเดินมาถูกทางหรือไม่  ว่าการขายสุราบนถนน และทางเท้า มีความสัมพันธ์กับการดื่มที่มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะความเสี่ยงต่อปัญหาเฉียบพลัน ทั้งอุบัติเหตุ ความรุนแรง ความปลอดภัย และด้านความสะอาด สงบเรียบร้อย มักพบว่า คนที่ไม่ได้ดื่มด้วย จำนวนมากต้องตกเป็นเหยื่อจากปัญหาเหล่านี้ และที่สำคัญร้านเหล้า ริมทางจำนวนมากยังมุ่งไปที่เยาวชนอีกด้วยกฎหมายนี้ ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การห้ามดื่ม แต่เป็นการจัดระเบียบทำให้การขายสุราเป็นระบบระเบียบมากขึ้น และเป็นการช่วยทำให้ถนนและทางเท้าของเราปลอดภัยมากขึ้น  ประเทศพัฒนาแล้ว จำนวนมาก มีกฎระเบียบชัดเจนในการห้ามการขายในพื้นที่สาธารณะ โดยเฉพาะบนถนนและทางเท้า ต้องไม่ลืมว่ากรุงเทพฯ ถูกโหวตให้เป็นเมือง ที่ร้านอาหารริมทางดีที่สุด การทำให้ร้านอาหารและทางเท้า สะอาด ปลอดภัย จะเป็นอีกหนทางในการนำเงินเข้าประเทศได้ ซึ่งที่ผ่านมา มักมีข่าวบ่อยๆ ว่า คนเดินถนน และ นักท่องเที่ยวก็ตกเป็นเหยื่อของปัญหาจากการดื่ม“ไม่ควรตกหลุมพรางทางความคิดว่า กฎหมายนี้เป็นการรังแกคนจน เพราะคนที่มีรายได้น้อยนั้น จะเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์และการปกป้องจากมาตรการนี้ คนจนมีความเสี่ยงต่อปัญหาสูง และเมื่อเกิดปัญหาก็มีผลกระทบรุนแรงกว่าคนรวย  และหากดูจากผลการสำรวจ เอแบคโพลล์จะเห็นชัดว่า กลุ่มประชากรที่มีรายได้น้อยที่สุดในสังคม กว่าร้อยละ 80 ที่สนับสนุนการห้ามขายบนทาง และไม่ใช่เป็นการตอบคำถามโดยไม่ได้คิดใคร่ครวญให้ดี ดังที่มีการโจมตี เพราะอีกการสำรวจที่ถามคำถามปลายเปิดว่า ควรห้ามขายสุราที่ไหน กลุ่มตัวอย่างก็เห็นว่า ควรห้ามขายบนถนนและทางเท้าเป็นอันดับหนึ่ง” ภก.สงกรานต์  กล่าวผู้อำนวยการ สคล. กล่าวอีกว่า จากคำพูดนักวิชาการบางท่าน ที่มองว่า การห้ามขายน้ำเมาบนทางเท้าเป็นการรังแกคนจน  น่าจะเป็นการมองจากมุมเดียว แต่หากมองจากมุมของคนจน และสังคมทั้งระบบ โดยเฉพาะจากมิติครอบครัวแล้ว กลับเป็นการช่วยให้ครอบครัวของคนจนดีขึ้นหลายทาง งานวิจัยของมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล  และ รพ.รามาธิบดี พบว่าในครอบครัวที่มีคนดื่มน้ำเมา จะทำให้ความรุนแรงเพิ่มขึ้น 3-4 เท่าดังนั้น การช่วยให้คนในครอบครัว ไม่ต้องไปตั้งวงดื่มน้ำเมาอยู่บนทางเท้า จึงเป็นการช่วยลดความรุนแรงในครอบครัวไปในตัวด้วย ควรเปลี่ยนค่าน้ำเมาเป็นค่าอาหารที่กินทั้งครอบครัว สร้างความอบอุ่น และทำให้ร้านขายอาหารซึ่งเป็นคนจน ก็ได้กำไรจากการขายอาหารมากขึ้น แทนที่จะต้องไปเสียค่าน้ำเมาให้คนที่ร่ำรวยมหาศาลแล้ว นักวิชาการ ควรทำหน้าที่ปกป้องคนจนให้ถูกวิธี ต้องไม่กลายเป็นเครื่องมือของธุรกิจน้ำเมา โดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจ  แล้วกลับมาทำร้ายคนจนทั้งครอบครัว ทำลายเศรษฐกิจและสังคม เพราะแม้แต่ธนาคารโลก ซึ่งชำนาญเรื่องเศรษฐกิจ ยังแนะนำว่ายิ่งควบคุมการดื่มน้ำเมามากเท่าใด ยิ่งเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมมากเท่านั้น“จากงานวิจัยของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กฯ พบว่า เด็กเกือบครึ่งหนึ่งทำผิดหลังจากดื่มน้ำเมา  คนเป็นโรคเอดส์ มากกว่าครึ่งหนึ่งที่วัดพระบาทน้ำพุ เพราะน้ำเมา รวมทั้งเยาวชนมีแนวโน้มติดเชื้อเอชไอวีมากขึ้น รวมทั้งแอลกอฮอล์ทำลายสมองเยาวชน ทำลายชาติ  และสร้างปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ธุรกิจน้ำเมาต้องตระหนักว่าสินค้าที่ทำกำไรให้ร่ำรวยติดอันดับโลกอยู่แล้ว ไม่ใช่สินค้าธรรมดาเหมือนสินค้าอื่นๆ แต่ทำลายสังคมในทุกมิติ จึงไม่ควรทำการตลาดอย่างไม่มีจริยธรรม และต้องไม่ขัดขวางกฎหมายและมาตรการดีๆ ที่จะลดปัญหาให้สังคม และเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ” ภก.สงกรานต์ กล่าวขณะที่ ดร.นิษฐา  หรุ่นเกษม เครือข่ายนักวิชาการเฝ้าระวังภัยจากปัญหาแอลกอฮอล์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร   กล่าวว่า มาตรการนี้ จะทำให้คนทุกกลุ่มคนในทุกชนชั้นได้ใช้พื้นที่ได้ใช้ทางสาธารณะอย่างปลอดภัย แต่กำลังจะถูกเบี่ยงเบนจากเจตนารมณ์ที่แท้จริง ด้วยการใช้วาทกรรมแห่งการแบ่งแยก ระหว่างความจนกับความรวย เพราะสิ่งที่มาตรการนี้กำลังจัดการคือกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำเมา กลุ่มทุนหลัก ที่กำลังครอบครองพื้นที่สาธารณะของบุคคล พื้นที่สาธารณะที่มีอยู่ของพวกเราไม่ได้เป็นพื้นที่ของเรา เมื่อถูกควบรวมให้กลายเป็นเพียงพื้นที่ทางการตลาดในการขายน้ำเมาและโฆษณาน้ำเมา“เราทุกคนจะได้ประโยชน์จากการไม่มีน้ำเมาขายบนทางสาธารณะด้วยกัน คิดถึงงานเทศกาลต่างๆ เช่นกรณีบั้งไฟ กาชาด หรือสงกรานต์ ที่ร้านขายเหล้าเบียร์เกลื่อน และกลายเป็นปัญหาที่ไปทำลายประเพณีวัฒนธรรมคุณค่าเดิมในงานเหล่านั้น กลายเป็นช่องทางที่ บริษัทเหล้าใช้เป็นช่องทางในการทำมาหากิน จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายตามถนนประเด็นนี้ก็ไม่ควรลืม นอกจากวาทกรรมคนจน คือ ช่องว่างทางกฎหมาย ที่บริษัทเหล้าจงใจใช้เป็นช่องทางส่งเสริมการขายในงานเทศกาลต่างๆ จนเป็นปัญหาของสังคมอยู่ตอนนี้” ดร.นิษฐา กล่าว.

No comments:

Post a Comment

Blog Archive