Sunday, April 7, 2013

มัจฉานุ ยานสะเทินน้ำสะเทินบก ฝีมือเด็กไทย นศ.พระจอมเกล้าฯ

มัจฉานุ ยานสะเทินน้ำสะเทินบก ฝีมือเด็กไทย นศ.พระจอมเกล้าฯ
ทีมนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล) เปิดตัวนวัตกรรม “มัจฉานุ…ยานสะเทินน้ำสะเทินบก” สู้ภัยน้ำท่วม สุดทึ่งสามารถแล่นไปบนถนนและลุยลงน้ำได้ทันทีและทุกที่ ใช้พลังงานสะอาดศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (Prof.Suchatvee Suwanswat) คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล) เป็นประธานเปิดตัวนวัตกรรม มัจฉานุ ยานสะเทินน้ำสะเทินบก กล่าวว่า จากแนวทางการเรียนการสอนมุ่งสู่ AEC 360 องศา ที่ก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติจริง นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.ได้คิดค้นนวัตกรรม “มัจฉานุ” ยานสะเทินน้ำสะเทินบก สู้ภัยน้ำท่วมหรือ Amphibian Vehicle  ซึ่งใช้พลังงานสะอาด สามารถแล่นไปบนถนนและลุยลงน้ำได้ทันที บรรทุกคนได้ 2 คน รวมคนขับ น้ำหนักสุทธิประมาณ 250 กิโลกรัม ไม่รวมคนโดยสารและคนขับ มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวก อาทิ เสื้อชูชีพ เชือกช่วยชีวิต ห่วงยาง เป็นต้น โหมดรถ ความเร็วสูงสุด 18 กิโลเมตร / ชั่วโมง ระยะทางสูงสุด 25 กิโลเมตรในโหมดเรือ สามารถวิ่งทวนกระแสน้ำที่มีความเร็วสูงสุด 5-8 กิโลเมตร / ชั่วโมง ยานมัจฉานุเป็นผลงานที่น่าภาคภูมิใจของลูกหลานไทยที่เป็นนักศึกษา 9 คน ในการนำเอาความรู้เทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ประกอบด้วย นายภาณุพงษ์ สิงห์หันต์ นายเทวินทร์ นิลสาคร นายสมหวัง แป้นรินทร์  นายรณกฤษณ์ จันทร์แจ่มใส  นายสันติสุข ศรีใส นายสุทิวัตร กรพัชร นายภูวดล แสงสุคนธ์ นายภัทราวุธ รอดเกษม นางสาวยศยา ภัทรภูมีมิตร และมีอาจารย์ที่ปรึกษา คือ รศ.ร.อ.ดร.วีระเชษฐ์ ขันเงิน ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล)ศ.ดร.สุชัชวีร์ กล่าวต่อว่า  ยานมัจฉานุนี้มีแนวคิดที่ก้าวล้ำโดยผสมผสานระหว่างการขับเคลื่อนแบบรถและแบบเรือไว้ในยานพาหนะเดียวกัน โดยที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานทางเลือก (Alternative Energy) ในการขับเคลื่อนแทนพลังงานน้ำมันจากฟอสซิล เมื่อมีการเคลื่อนที่บนผิวน้ำ ยานมัจฉานุนี้จะมีการปรับระบบใช้ “โหมดเรือ” เป็นต้น กำลังในการขับเคลื่อนใบพัดของเรือที่ท้องเรือ และในขณะที่พบสภาวะที่เป็นพื้นถนนหรือพื้นดินก็ยังสามารถวิ่งได้เหมือนกับรถยนต์ปกติ โดยใช้ “โหมดรถ” ในการขับเคลื่อนล้อของรถ ระบบของยานมัจฉานุนี้วิ่งเงียบจึงไม่สร้างมลพิษทางเสียง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ใช้พลังงานไฟฟ้าซึ่งไม่ก่อมลพิษทางอากาศ  ทำให้นวัตกรรมยานมัจฉานุนี้สามารถที่จะตอบโจทย์ และอพยพผู้ประสบภัยที่เกิดจากอุทกภัยได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะต้องเข้าไปตามเส้นทางที่แคบ ทั้งทางน้ำหรือทางบก  ส่วนความปลอดภัยของระบบไฟฟ้านี้ จะเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยของยานยนต์ไฟฟ้านายภาณุพงษ์  สิงห์หันต์ นักศึกษาปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. หัวหน้าทีมวิจัย เล่าถึงแรงบันดาลใจว่า ทีมงานของเราใช้เวลา 1 ปีเต็ม ในการร่วมกันวิจัยพัฒนา ยานมัจฉานุ จนเป็นผลสำเร็จ  มัจฉานุถูกสร้างขึ้นเนื่องจากแนวคิดที่มาจากเหตุการณ์“มหาอุทกภัย” ที่ประเทศไทยของเราได้ประสบในปี 2554  ซึ่งทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนในการคมนาคม อีกประการหนึ่ง เรือที่นำเข้าไปใช้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยมักสร้างมลพิษทางเสียงที่ดังรบกวนและสร้างคลื่นน้ำขนาดใหญ่ที่อาจสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินต่างๆ ที่มีค่า รวมไปถึงโบราณสถานต่างๆ ที่ไม่อาจประเมินค่าได้ นอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งมีราคาสูงและก่อให้เกิดมลพิษในอากาศ โดยโครงสร้างของยานมัจฉานุ ออกแบบให้มีรูปร่างที่เพรียวลมคล้ายเจ็ตสกี เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนที่ตามหลักพลศาสตร์ของยานยนต์ (Aero Dynamic)  และหล่อด้วยไฟเบอร์กลาส มี 2 มือจับ ใต้ยานติดตั้งล้อ 3 ล้อ โดยที่ล้อทางด้านหลังจะมีสองล้อ และด้านหน้าจะใช้เพียงล้อเดียวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสะดวกให้แก่การเข้าโค้งของยานพาหนะในโหมดรถ ส่วนในด้านต้นกำลังการขับเคลื่อนมัจฉานุนั้น แหล่งต้นกำลังของยานไฟฟ้าเกิดมาจากส่วนมอเตอร์กระแสตรงชนิดไร้แปรงถ่าน (Brushless DC Motor) ทั้งนี้ที่เลือกใช้มอเตอร์ชนิดนี้ เพราะจะไม่เกิดค่าความสูญเสียจากส่วนแปรงถ่าน ทำให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มสมรรถนะ ซึ่งแบ่งการทำงาน เป็นมอเตอร์จำนวน 2 ตัวแยกกันทำงานคนละส่วนกัน ซึ่งจะมีรายละเอียด คือ 1. มอเตอร์ขนาด 1 แรงม้า (ความเร็วต่ำ 400 rpm) มีลักษณะ คือ ความเร็วต่ำซึ่งจะถูกใช้เป็นต้นกำลังให้กับล้อรถซึ่งมอเตอร์ตัวนี้จะถูกสั่งให้ทำงานใน” โหมดรถ”  2. มอเตอร์ขนาด 1 แรงม้า (ความเร็วสูง 2,800 rpm) มีลักษณะ คือ ความเร็วสูงซึ่งจะถูกใช้เป็นต้นกำลังให้กับใบพัดของเรือ ซึ่งมอเตอร์ตัวนี้จะถูกสั่งให้ทำงานใน “โหมดเรือ”ผศ.ดร.คมสัน มาลีสี รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์  สจล และผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันภัยพิบัติวิศวะลาดกระบัง กล่าวถึงแนวโน้มสภาวะน้ำท่วมปี 2556 ว่า แม้ว่าสถานการณ์ในช่วงต้นปี 2556 หลายพื้นที่ประสบกับภาวะแล้ง ปริมาณน้ำในเขื่อนก็ยังต่ำ สามารถรับปริมาณน้ำได้อีกมาก การขุดลอกคูคลองและการก่อสร้างเขื่อนนิคมอุตสาหกรรมจะทำไปแล้วเกือบทั้งหมด นับตั้งแต่ปลายเมษายน –พฤษภาคม เป็นต้นไป เรายังต้องเฝ้าระวังติดตามพายุฝนต่างๆ ด้วยความไม่ประมาท ยานสะเทินน้ำสะเทินบก มัจฉานุ นับเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่จะช่วยรองรับภัยพิบัติได้เป็นอย่างดี .  

No comments:

Post a Comment

Blog Archive