Sunday, December 30, 2012

โอกาสเด็กไทยที่สูญเปล่า

โอกาสเด็กไทยที่สูญเปล่า
เหลียวหลัง 1 ปีการศึกษาชาติยุคปฏิรูปฯ ทศวรรษที่ 2 รับประชาคมอาเซียนการศึกษา คือรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศแต่ยิ่งนับวันรากฐานที่ว่าเหมือนจะยิ่งส่อเค้ารางถึงความง่อนแง่นมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะ รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กำลังถูกสังคมมองว่าให้ความสำคัญกับการศึกษา ซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศเพียงแค่ “ลมปาก”เพราะขณะที่นโยบายด้านการศึกษาต้องการความต่อเนื่อง แต่น่าเสียดายที่ระยะเวลาเพียงแค่ 1 ปี ของการบริหารงานรัฐบาลนายกฯปู กระทรวงศึกษาธิการกลับเป็นกระทรวงที่ใช้รัฐมนตรีเปลืองที่สุดถึง 3 คนวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุลคนแรกคือ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ที่เข้ามาดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงคุณครู ตั้งแต่วันที่ 18 ส.ค.2554 -18 ม.ค.2555 และถูกปรับไปนั่งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยส่ง นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช เข้ามารับช่วง รมว.ศึกษาธิการ แทน แต่อยู่ในตำแหน่งนี้ได้แค่ 9 เดือน ในวันที่ 28 ต.ค. 2555 ก็ถูกปรับออก และส่ง นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา เข้ามากุมบังเหียนในตำแหน่ง เจ้ากระทรวงศึกษาธิการ จนถึงวันนี้เมื่อเหลียวหลังไปดูตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา “ทีมการศึกษา” ขอฟันธงว่า การเดินเครื่องงานการศึกษาชาติแทบจะเรียกได้ว่า “ย่ำอยู่กับที่” โดยเฉพาะเรื่องของ “การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2” ซึ่งถือเป็น “วาระสำคัญของชาติ” ที่มีการตีกรอบเงื่อนเวลาให้ใครก็ตามที่เข้ามาเป็นรัฐบาล ต้องเร่งดำเนินการปฏิรูปการศึกษาไทยอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2552-2561ทั้งๆที่มี คณะกรรมการกำหนดนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 หรือที่เรียกกันว่า กนป. ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และยังมี คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 มี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน แต่นับตั้งแต่ รัฐบาลปู 1 จนถึง รัฐบาลปู 3 การปฏิรูปการศึกษาไทยเหมือนถูก “ใส่เกียร์ว่าง” ยังไม่มีการขับเคลื่อนแม้แต่น้อยขณะเดียวกัน กลับมีแต่นโยบายประชานิยมผุดขึ้นมาราวกับดอกเห็ด อาทิ โครงการ One table PC per Child หรือการแจกแท็บเล็ตให้กับนักเรียนชั้น ป.1 โดยไม่สะทกสะท้านกับกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมและความคุ้มค่า แต่เมื่อประกาศเป็น “สัญญาประชาคม” ไปแล้วก็ต้องทำ และในที่สุดก็เปิดไฟเขียวขยายการแจกแท็บเล็ตเพิ่มให้กับนักเรียนชั้น ม.1 ในปีการศึกษา 2556ตามมาด้วย กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ที่แม้จะไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรง แต่ก็ดึงเข้าไปมีเอี่ยวด้วยคำบัญชาให้ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หรือ กศน. ที่มีหน่วยงานกระจายอยู่ทุกพื้นที่ รับผิดชอบรับลงทะเบียนสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ซึ่ง กศน.ก็ “จัดให้” ด้วยการเปิด กศน.ตำบลทุกแห่งเป็นหน่วยรับลงทะเบียน จนยอดสมาชิกพุ่งขึ้นทันตาเห็นการเปิดตัว โครงการกองทุนตั้งตัวได้ ตามนโยบายของรัฐบาล ที่ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เตรียมขึ้นแท่นเป็น “เถ้าแก่น้อย” โดยให้นักศึกษาหรือบัณฑิตใหม่ใช้เป็นแหล่งกู้ยืมเงินเพื่อเป็นต้นทุนในการสร้างอาชีพ วงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท ซึ่งเชิญนายกรัฐมนตรีมาเปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2555และล่าสุด เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.2555 ก่อนปิดศักราชปีงูใหญ่ มีการเปิดตัว โครงการยกระดับการศึกษาประชาชน จบ ม. 6 ใน 8 เดือนอย่างมีคุณภาพ เพื่อยกระดับการศึกษา “คนรากหญ้า” ให้เรียนจบ ม.6 ใน 8 เดือนโดยมีมติคณะรัฐมนตรีผ่าน ร่างกฎกระทรวง ว่าด้วยการแบ่งระดับและเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่ออำนวยความสะดวกให้คนที่ยังไม่จบ ม.6 นำความรู้และประสบการณ์มาประเมินเทียบระดับการศึกษาเพื่อให้จบ ม.6 ได้แบบ “ก้าวกระโดด” โดยไม่ต้องเทียบการศึกษาทีละระดับตามรูปแบบเดิมสุชาติ ธาดาธำรงเวชยิ่งเมื่อย้อนไปดูการทำงานของรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ โดยเฉพาะในระยะที่ นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รับช่วงเข้ามากุมบังเหียนตั้งแต่เมื่อต้นปี สิ่งที่สะท้อนให้เห็นคือ การเดินสายกดปุ่มเปิดงานอีเวนต์ และทัวร์ต่างประเทศ แต่กลับไร้ซึ่งสัญญาณในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2ภารกิจที่เป็นหน้าที่หลักของกระทรวงศึกษาธิการ นอกจากจะสร้าง “คนเก่ง” ให้เปี่ยมไปด้วยความรู้ ด้วยการจัดการศึกษาที่ดีและมีคุณภาพแล้ว ยังต้องสร้าง “คนดี” ด้วยการปลูกฝังให้เด็กไทย ซึ่งถือเป็นอนาคตสำคัญของชาติ เพียบพร้อมไปด้วยคุณธรรม จริยธรรม และความซื่อสัตย์ สุจริต ด้วย แต่น่าเสียดายที่ผู้หลัก ผู้ใหญ่ ในระดับบริหารของกระทรวงศึกษาธิการบางคนที่ควรจะเป็น “ต้นแบบ” ของจริยธรรม กลับมีข่าวที่สะท้อนถึงความไม่โปร่งใส่ออกมาสู่สาธารณะเป็นระยะๆ โดยเฉพาะเรื่องการทุจริตการจัดซื้อครุภัณฑ์ในโครงการปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2 หรือเอสพี 2 และที่น่าเศร้าใจยิ่งไปกว่านั้นคือ การที่เจ้ากระทรวงศึกษาธิการกลับแสดงท่าที “สวนทาง” กับการเดินหน้านำตัวคนกระทำผิดมาลงโทษที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้นคือ เป็นครั้งแรกในแวดวงสื่อการศึกษา ที่เจ้ากระทรวงถูกสื่อมวลชนสายการศึกษาเข้ายื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้พิจารณาพฤติกรรมและการทำงาน จนในที่สุดก็มีการปรับออกจากคณะรัฐมนตรีพงศ์เทพ เทพกาญจนาและแล้วความหวังของการศึกษาชาติเหมือนจะเริ่มจุดประกายขึ้นอีกครั้ง เมื่อ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ถูกส่งมาคุมบังเหียน เจ้ากระทรวงศึกษาธิการ ด้วยความที่เป็นนักกฎหมาย เคยเป็นถึงอดีตผู้พิพากษา และคลุกคลีในแวดวงการศึกษาชาติมาแล้ว จากการเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์แต่การที่ นายพงศ์เทพ นั่งควบรองนายกรัฐมนตรีอีกหนึ่งตำแหน่ง จึงทำให้ถูกตั้งข้อสังเกตว่า การจะหันมาทุ่มเทงานการศึกษาชาติแบบเต็มตัวคงเป็นเรื่องที่ลำบากและก็ต้องยอมรับว่า การเดินเครื่องงานการศึกษาชาติ ณ วันนี้ ไม่ใช่เรื่องหมูๆเสียแล้ว เพราะทันทีที่รับตำแหน่ง รมว.ศึกษาธิการ นายพงศ์เทพ ก็ถูกรับน้องด้วย ผลการวิจัยการจัดอันดับความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษ ในกลุ่มประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ จำนวน 54 ประเทศ ของ บริษัทเอดูเคชั่น เฟิร์สต์ ที่ระบุว่า ไทยรั้งอันดับ 53 ซึ่งเป็นตำแหน่ง “รองบ๊วย” ประเทศที่มีความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษต่ำที่สุดตอกย้ำอีกระลอกด้วยผลการจัดอันดับประเทศที่มีการพัฒนาทางการศึกษา จัดทำโดย หน่วยข่าวกรองเศรษฐศาสตร์ หรือ อีไอยู ของ เพียร์สัน บริษัทด้านการศึกษาและธุรกิจสิ่งพิมพ์ยักษ์ใหญ่ สัญชาติอังกฤษ ที่ออกมาเผยข้อมูลเมื่อเดือน พ.ย.2555 ระบุว่า ประเทศไทยรั้งอันดับที่ 37 จากการจัดอันดับทั้งหมด 40 ประเทศ ในขณะที่ฟินแลนด์ครองอันดับ 1 เกาหลีใต้ รั้งอันดับ 2 ตามติดมาด้วย ฮ่องกง ญี่ปุ่น และสิงคโปร์และปิดฉากปีงูใหญ่แบบหนักหนาสาหัส ชนิดอึ้ง! กันไปทั้งวงการศึกษา ด้วย ผลวิจัยการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ พ.ศ. 2554 หรือ TIMSS 2011 จัดโดย The International Association for the Evaluation of Educational Achievement หรือ IEA ที่ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ สสวท. ออกมาเปิดเผยเมื่อวันที่ 11 ธ.ค.2555ผลวิจัย Timss ระบุว่า ในระดับชั้นประถมศึกษาซึ่งเป็นการประเมินเด็ก ป.4 พบว่า วิชาคณิตศาสตร์ของเด็กไทยอยู่ในอันดับที่ 34 จาก 52 ประเทศที่ร่วมประเมิน ถูกจัดอันดับอยู่ใน “กลุ่มแย่” ส่วนวิทยาศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 29 ถูกจัดอยู่ใน “กลุ่มพอใช้”ขณะที่ระดับมัธยมศึกษา ซึ่งประเมินเด็ก ม.2 พบว่า วิทยาศาสตร์จัดอยู่ในอันดับที่ 25 และคณิตศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 28 จาก 45 ประเทศ ถูกจัดอันดับให้อยู่ใน “กลุ่มแย่” ทั้ง 2 วิชา และที่น่าตกใจกว่านั้นคือคะแนนเฉลี่ยตกฮวบฮาบ จากการประเมินเมื่อปี 2007แต่ท่ามกลางความน่าวิตกชนิดที่เรียกว่าอกสั่นขวัญกระเจิง ยังมีเรื่องที่น่ายินดี และเปรียบเสมือนแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์คือ การที่นายพงศ์เทพ ในฐานะเจ้ากระทรวงศึกษาธิการออกมายอมรับผลการประเมินที่ตกต่ำลงเรื่อยๆ และถึงขั้นประกาศ “ปฏิรูปหลักสูตร” ทั้งระบบ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย“ทีมการศึกษา” อยากจะบอกพร้อมกับฝากความหวังว่า ท่ามกลางสารพัดเรื่องที่น่าวิตก การส่งสัญญาณด้วยการยอมรับในความอ่อนด้อยในงานการศึกษาชาติของเจ้ากระทรวงศึกษาธิการ น่าจะเป็นการเดินมาถูกทาง เพราะหมดเวลาแล้วที่จะออกมา “แก้ตัว” ว่าสาเหตุที่การศึกษาของเด็กไทย “ตกต่ำ” ขนาดนี้ เป็นเพราะเกณฑ์ประเมินของต่างชาติมาตรฐานสูงเกินไป เพราะขาดแคลนงบประมาณ หรือมาจากการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีบ่อยๆ จนนำไปสู่นโยบายด้านการศึกษาที่ไม่ต่อเนื่องหมดยุคแล้วที่จะมัวแต่มา “โยนกลอง” กันไปมาว่าใครเป็น “คนผิด”???แต่ถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายในสังคม ควรจะออกมาร่วมด้วยช่วยกัน “แก้ไข” เพื่อคุณภาพการศึกษาที่ดีของเด็กไทย ซึ่งไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นลูกหลานของเราทุกคนจากวันนี้เหลือเวลาอีกเพียง 3 ปี ประเทศไทยก็จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มตัว ในปี 2558 สิ่งที่ต้องเร่งเครื่องคือการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กไทย เพราะคงไม่มีใครปฏิเสธว่าการศึกษาเป็นส่วนสำคัญในการสร้างคน อันจะนำมาซึ่งความเข้มแข็ง และความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของอาเซียน รวมไปถึงเศรษฐกิจโลกแต่หากยังปล่อยให้ปัญหาการศึกษา เป็น “มะเร็งร้าย” ที่กัดกร่อนคุณภาพเด็กไทยต่อไป โดยที่ไม่ช่วยกันแก้ไขแล้ว มาตรฐานการศึกษาไทยคงรอนับเวลาปิดฝาโลงแน่นอนที่ผ่านมาทุกรัฐบาลมักจะประกาศเสมอว่างานการศึกษาคือเรื่องที่ “ปลอดการเมือง” แต่ในที่สุดคำประกาศครั้งแล้วครั้งเล่าก็เป็นได้แค่เพียง “ลมปาก” ที่สร้างความผิดหวังซ้ำซากณ วันนี้ วันที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ปี 2556 คำถามที่ค้างคาในใจคนไทยส่วนใหญ่ที่อยากส่งต่อถึงรัฐบาล คงไม่ต่างกันคือ ถึงเวลาหรือยังที่รัฐบาลจะมีความจริงใจและจริงจัง นำพา “การศึกษาไทย” ก้าวข้ามวาระซ่อนเร้นทาง “การเมือง” เพื่อสร้างรากฐานของประเทศให้มั่นคงและยั่งยืนอย่าปล่อยให้เด็กไทย “เสียโอกาสทอง” ด้วยการอยู่อย่างไร้ความหวังอีกเลย!!! ทีมการศึกษา

No comments:

Post a Comment

Blog Archive