Sunday, May 23, 2010

ใช้กากตะกอนน้ำเสีย-ขี้แป้ง เติมธาตุอาหารลงดินแทนปุ๋ยฯ

ใช้กากตะกอนน้ำเสีย-ขี้แป้ง เติมธาตุอาหารลงดินแทนปุ๋ยฯ

แปลงกล้ายางที่นักวิจัยทำการทดสอบเก็บข้อมูลที่ตำบลไทรขึง อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี.ปัจจุบันยางพาราเป็นสินค้าส่งออกอันดับต้นๆของประเทศ หากเทียบปริมาณผลผลิตต่อไร่ กลับพบว่าเกษตรกรบ้านเรากรีดน้ำยางได้ปริมาณน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะข้อจำกัดในด้านต้นทุนที่ใช้ดูแลระหว่างต้นยางชำถุง จนกระทั่งเปิดหน้ายางฉะนี้...รองศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ ศิริรัตน์พิริยะ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมคณะ ร่วมทำวิจัย การทดแทนปุ๋ยด้วยกากตะกอนน้ำเสียและกากขี้แป้งเพื่อการปลูกยางพารา ขึ้น ในพื้นที่ปลูกยางตำบลไทรขึง อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี โดยได้รับการสนับสนุน ทุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)รศ.ดร.อรวรรณ เปิดเผยว่า เมื่อเทียบกับประเทศอื่น เรายังมีผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าเกษตรกรใส่ปุ๋ยน้อยกว่าอัตราที่แนะนำ ส่งผลให้ธาตุอาหารในดินไม่เพียงพอต่อความต้องการนำไปใช้เป็นอาหารทำให้การเจริญเติบโตช้า อีกทั้งการกรีดยางจะทำให้เกิดการสูญเสียธาตุอาหารที่ไหลไปกับน้ำยางรองศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ ศิริรัตน์พิริยะ
และ...เพื่อเป็นการลดต้นทุน เพิ่มทางเลือกให้กับเกษตรกร ทีมวิจัยจึงนำกากตะกอนน้ำเสีย รวมทั้งขี้แป้งมาทำการศึกษาวิเคราะห์ให้ผลว่า กากตะกอนน้ำเสียรวมทั้งขี้แป้งซึ่งเป็นของเหลือทิ้งจากโรงงานที่ผ่านขบวนการบำบัด จะมีธาตุปุ๋ย NPK อินทรียวัตถุที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นพืชได้เท่าเทียมกับปุ๋ยเคมี ดังนั้นการเติมอินทรียวัตถุโดยใช้สิ่งต่างๆเหล่านี้ เสมือนกับว่าเป็นการ นำสิ่งที่ได้จากธรรมชาติกลับ คืนสู่แหล่งที่มาสำหรับขั้นตอนการดำเนินงาน รศ.ดร.อรวรรณบอกว่า...เริ่มตั้งแต่การปลูกต้นกล้ายาง (ต้นตอตา) และการปลูกต้นยางชำถุง โดยเตรียมกากตะกอนน้ำทิ้ง กากขี้แป้ง ในคราวเดียวกัน จากนั้นเตรียมแปลงเพาะกล้ายางโดยใช้รถแทรกเตอร์พลิกดิน 2 ครั้ง ไถพรวน 2 ครั้ง ทำแปลงทดลองขนาด 2x5 เมตร กำหนดแนวปลูกด้วยระยะ 1 เมตร สำหรับปลูกเมล็ดงอก (germinated seed) ระยะห่าง 20 เซนติเมตร....ในขั้นตอนนี้จะมีแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ แปลงที่เกษตรกรปลูกโดยใส่ปุ๋ยบำรุงรูปแบบเดิม และ แปลงที่ใส่กากตะกอนและขี้แป้ง ซึ่งผ่านขบวนการทำแห้งป้องกันการเกิดราและยังทำให้ส่วนผสมที่ทีมวิจัยคิดค้นสูตรมีความคงที่เหมาะสม จากนั้นบำรุงดูแลรักษาตลอดระยะเวลา 6 เดือน โดยรดน้ำเช้าเย็นให้ดินชุ่ม กำจัดวัชพืช พร้อมวัดการเจริญเติบโตของกล้ายางทุกเดือน ควบคู่กับการเก็บตัวอย่างดินก่อนและหลังการเติมสิ่งทดลองจนกระทั่งกล้ายางอายุ 6 เดือน พร้อมที่จะติดตาเขียวต้นกล้ายางแล้วจึงเตรียมถุงเพาะชำ โดยใช้ต้นตอซึ่งติดตาเขียวพันธุ์ RRIM 600 ไปปลูกในถุงเพาะชำ โดยแบ่งเปรียบเทียบคือ แปลงที่ 1 การดูแลบำรุงรักษาจะไปตามรูปแบบเดิมอย่างที่เกษตรกรเคยทำกันมา แปลงที่ 2 ใส่ดิน 3 ส่วน/กากตะกอน 1 ส่วน แปลงที่ 3 ใส่ดิน 3 ส่วน/ใส่กากขี้แป้ง 1 ส่วน แปลงที่ 4 ดิน 3 ส่วน/เติมกากตะกอน และกากขี้แป้ง อย่างละเท่ากันรวม 1 ส่วน แปลงที่ 5 ใส่ดิน 3 ส่วน/เติมกากตะกอนมากกว่ากากขี้แป้งลงดินรวม 1 ส่วน และ แปลงที่ 6 ใส่ดิน 3 ส่วน/เติมกากตะกอนน้อยกว่ากากขี้แป้งลงดินรวม 1 ส่วนดูแลบำรุงรักษารดน้ำ กำจัดวัชพืชตลอดระยะเวลา 90 วัน เมื่อต้นยางชำถุงอายุ 90 วัน เป็นระยะที่เหมาะสำหรับย้ายต้นยางชำลงหลุมปลูก วัดความสูง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง วัดรัศมีเรือนยอด และเก็บตัวอย่างดิน ซึ่งการวิจัยให้ผลว่า กากตะกอนน้ำเสียและกากขี้แป้งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปลูกและการเติบโต รวมทั้งมีศักยภาพทดแทนปุ๋ย สำหรับการปลูกยางพาราตั้งแต่ระยะต้นกล้ายางจนถึงยางชำถุงและสูตรที่มีความเหมาะสมมากคือสูตรที่ใช้ใส่ในแปลงต้นตอติดตาที่ 5การวิจัยนี้จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกร ที่สามารถลดต้นทุนอีกทั้งเป็นการวิจัยต้นแบบที่มุ่งการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุและแหล่งธาตุอาหารก่อนเวลาเปิดหน้ายางและเพื่อให้ได้ผลที่แน่ชัดในพื้นที่อื่น ทีมวิจัยแนะนำว่า ก่อนเกษตรกรจะนำไปใช้ควรมีการ วิเคราะห์โครงสร้างดินจากแหล่งที่ปลูก กากตะกอนน้ำทิ้งจากแหล่งที่มาด้วยเช่นกัน.เพ็ญพิชญา  เตียว

NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive