Sunday, May 23, 2010

หมู่บ้านพลังแสงอาทิตย์ แห่งแรกในไทย

หมู่บ้านพลังแสงอาทิตย์ แห่งแรกในไทย

สวทช.ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) พัฒนานำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ในหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี....  รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผอ.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า สวทช.ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) พัฒนานำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ในหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อกิจกรรมของชุมชนในหมู่บ้านอย่างเหมาะสมกับท้องถิ่นแก่ประชาชน เบื้องต้นได้เลือกหมู่บ้านข้าวหอมนิล ต.ไผ่จำศีล อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ซึ่งเป็นหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ฯ เป็นพื้นที่เป้าหมายแห่งแรกของประเทศไทย   ทั้งนี้การนำพลังงานแสงอาทิตย์ไปใช้ประโยชน์ได้มอบให้สถาบันพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ (SOLARTEC) รับผิดชอบออกแบบและติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์จำนวน 56 แผง ซึ่งจะให้กำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า 2.5 กิโลวัตต์ ในพื้นที่เป้าหมายดังกล่าวและจะสนับสนุนบุคลากรผู้ชำนาญการช่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ให้กับชุมชนในหมู่บ้านอีกด้วย ที่สำคัญ การติดตั้งแผงเซลล์ แสงอาทิตย์ยังถือเป็นการทดสอบแผงเซลล์ที่ SOLARTEC ผลิตในสภาพการใช้งานจริง ซึ่งพื้นที่ จ.อ่างทอง มีความเหมาะเพราะมีแสงแดดแรง  ผอ.สวทช. กล่าวต่อว่า สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์ นอกจากสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์เป็นพลังงานความร้อนหรือเป็นพลังงานไฟฟ้าแล้ว ยังนำไปใช้ในการอบแห้งผลิตผลทางการเกษตรเพื่อเป็นการถนอมอาหารได้ด้วย และจากนี้จะมีการวิจัยและพัฒนาเพื่อไปติดตั้งในหมู่บ้านอื่นๆทั่วประเทศ  โดยเฉพาะหมู่บ้านตามชายแดนในถิ่นทุรกันดาร เพื่อเป็นการลดภาระด้านพลังงานของประเทศและเป็นการสร้างรูปแบบของหมู่บ้านพอเพียงต่อไป   ด้านนายเกษม พิฤทธิ์บูรณะ อธิบดี วศ. กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า พลังงานแสงอาทิตย์ กำลังการผลิต 2.5 กิโลวัตต์ ที่ สวทช.จะนำมาติดตั้งให้กับชุมชนในหมู่บ้านข้าวหอมนิล นอกจากจะเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าไว้ใช้แล้วจะจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ด้วยเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในหมู่บ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงสีข้าวหอมนิลของชุมชนที่ใช้ มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเครื่องสีข้าว.


NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive