Thursday, March 28, 2013

โพลชี้ 56.8% ผู้หญิงยังลังเลทำแท้ง ต้องปรึกษาครอบครัว

โพลชี้ 56.8% ผู้หญิงยังลังเลทำแท้ง ต้องปรึกษาครอบครัว
เอแบคโพลล์ ชี้ 56.8% ของผู้หญิงยังลังเล ขอปรึกษาครอบครัว-คนรอบข้าง ก่อนตัดสินใจทำแท้ง ขณะตั้งครรภ์อายุเกิน 30 ปีขึ้นไป กลัวลูกที่ออกมามีพัฒนาการเรียนรู้ช้า หรือ เป็นดาวน์ซินโดรมวันที่ 28 มี.ค. นางสาวปุณฑรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง เทคโนโลยีทางการแพทย์ จริยธรรม กับการตัดสินใจทำแท้งของสตรีตั้งครรภ์ในสังคมไทย กรณีศึกษาตัวอย่างกลุ่มผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 626 ตัวอย่าง ค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 ดำเนินโครงการระหว่างเดือนกุมภาพันธ์–มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา พบว่า ผู้หญิงที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.8 ระบุว่า ช่วงอายุที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์คือ ช่วงอายุระหว่าง 20 – 29 ปี ในขณะที่ร้อยละ 23.5 ระบุช่วงอายุระหว่าง 30 – 39 ปี ที่น่าพิจารณาคือ ผู้หญิงเกินครึ่งหรือร้อยละ 55.1 ระบุช่วงอายุที่มากเกินไป สำหรับการตั้งครรภ์คือ ช่วงอายุระหว่าง 30 – 39 ปี และร้อยละ 38.0 ระบุช่วงอายุระหว่าง 40 – 49 ปี ในขณะที่ร้อยละ 5.1 ระบุช่วงอายุ 50 – 59 ปีสำหรับเหตุผลที่ทำให้มีลูกตอนอายุมากนั้นพบว่า กลุ่มตัวอย่างเกือบหนึ่งในสามหรือร้อยละ 30.0 ระบุแต่งงานตอนอายุมาก รองๆ ลงมาคือ ร้อยละ 27.6 ระบุความพร้อมทางฐานะการเงิน ร้อยละ 22.8 ระบุความมั่นคงในชีวิตคู่ นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่นๆ อีก ได้แก่ ตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ อยากได้ลูกเป็นโซ่ทองคล้องใจ และความมั่นใจในเทคโนโลยีทางการแพทย์ ตามลำดับส่วนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับทารกหากตั้งครรภ์ตอนอายุ 30 ปีขึ้นไป ห้าอันดับแรกได้แก่ อันดับหนึ่งร้อยละ 53.8 ระบุมีพัฒนาการเรียนรู้ช้า อันดับสอง ร้อยละ 38.3 ระบุเด็กเป็นดาวน์ซินโดรม อันดับสาม ร้อยละ 38.0 ระบุอวัยวะในร่างกายไม่ครบสมบูรณ์ อันดับสี่ ร้อยละ 32.7 ระบุเด็กเป็นออทิสติก และอันดับที่ 5 ร้อยละ 26.2 ระบุครรภ์เป็นพิษ ตามลำดับนอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 56.7 ระบุว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันมีผลต่อการตัดสินใจตั้งครรภ์มีผลต่อการตัดสินมากถึงค่อนข้างมาก ร้อยละ 34.7 ระบุปานกลาง มีเพียงแค่ร้อยละ 5.7 ระบุมีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่น่าสนใจคือกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.8 ระบุว่ายังลังเลไม่แน่ใจและต้องปรึกษาคนในครอบครัวก่อนว่าจะทำแท้งหรือไม่หากแพทย์วินิจฉัยว่ามีความเสี่ยงต่อชีวิต ในขณะที่ร้อยละ 27.0 จะตัดสินใจทำแท้ง ทั้งนี้มีเพียงร้อยละ 16.2 ที่ตัดสินใจไม่ทำแท้งและพร้อมยอมรับความเสี่ยงผช.ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า จะเห็นได้ว่า ผู้หญิงที่ถูกศึกษามีเพียงส่วนน้อย ที่คำนึงถึงศีลธรรม-จริยธรรมที่เข้มแข็ง โดยจากการสัมภาษณ์เจาะลึกพบว่า พวกเธอคิดถึงเรื่อง “ชีวิตมนุษย์” ในครรภ์และ “ความเป็นลูก” ที่มาจากตัวของพวกเธอเป็นหลัก พวกเธอเห็นตรงกันว่า ถ้าตัดสินใจทำแท้งก็คือทำลายชีวิตของลูก ชีวิตของมนุษย์และจะเป็นบาปติดตัวไปตลอดอย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ยังคงลังเล ไม่แน่ใจว่า จะทำแท้งหรือไม่ขึ้นอยู่กับการชี้แนะชี้นำของคนใกล้ชิดรอบข้าง แต่การที่ผลสำรวจพบว่าคนที่ตัดสินใจทำแท้งทันที มีอยู่เกินกว่า 1 ใน 4 ของผู้หญิงที่ถูกศึกษาทั้งหมดนั้น ถือว่า เป็นเรื่องที่ต้องถกเถียงในสังคมด้านศาสนาและวิทยาศาสตร์กันต่อไป.

No comments:

Post a Comment

Blog Archive