Tuesday, May 4, 2010

ชุมชนต้นแบบ เขตเลเสบ้าน

ชุมชนต้นแบบ เขตเลเสบ้าน



คมชัดลึก : ต้นสัปดาห์ที่แล้วผมมีโอกาสติดตามคณะทำงาน "มูลนิธิซิเมนต์ไทย" และพันธมิตรในเครือข่ายนำคณะสื่อมวลชนกว่า 30 ชีวิตลงพื้นที่ไปเยี่ยมชมความคืบหน้าในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์ในหลายพื้นที่ จ.ตรัง แต่ละชุมชน ไปดูชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพการทำประมงพื้นบ้านเป็นหลัก






 เท่าที่ได้สัมผัสชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาในวันนี้ ต้องยอมรับว่ามีความเข้มแข็งขึ้นมาก พวกเขาแปลงวิกฤติให้เป็นโอกาสได้อย่างน่าทึ่งทีเดียว บางพื้นที่มีการรวมกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น แต่ที่น่าทึ่งมากๆ คือชุมชนบ้านน้ำราบ ต.บางสัก อ.กันตัง ถือเป็นชุมชนต้นแบบเป็นตัวอย่างให้แก่ชุมชนอื่นได้ดีทีเดียว ภายใต้ผู้นำที่เข้มแข็งอย่าง บังเดีย หรือหลงเฟีย บางสัก ประธานชมรมประมงพื้นบ้าน ถือเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการรวมกลุ่มชาวบ้านผนึกกำลังปกป้องน่านน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งทำมาหากินของพวกเขาไว้อย่างเหนียวแน่น
 ไม่เฉพาะบ้านน้ำราบเท่านั้นที่มีความเป็นปึกแผ่น แต่ยังขยายพื้นที่ครอบคลุมหมู่บ้านใกล้เคียงถึง 4 หมู่บ้านที่จับมือผนึกกำลังร่วมกัน หรือที่รู้จักกันในนาม "เขตทะเลสี่หมู่บ้าน หรือเขตเลเสบ้าน" ประกอบไปด้วย บ้านน้ำราบ บ้านควนตุ้งกู้ บ้างฉางหลาง และบ้านเกาะมุกด์ เพื่อปกป้องทรัพยากรชายฝั่ง ภายใต้โครงการแนวเขตเพาะพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อนและป้องกันเครื่องมือประมงทำลายล้างให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเจตนารมณ์ร่วมกันในการจัดการทรัพยากรทางทะเลให้เกิดความยั่งยืน 
 กฎเหล็ก 4 ข้อที่ชาวบ้านตกลงร่วมกันเป็นกติกาชุมชน ได้แก่ 1.ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์น้ำ ห้ามทำการประมงด้วยเรืออวนลาก เรืออวนรุน อวนประกอบเครื่องมือกระทุ้งน้ำ อวนชักอวนทับตลิ่ง ระเบิด ยาเบื่อ เบ็ดราไว ลอบหรือไซปูขนาดตาอวนต่ำกว่า 2 นิ้ว การดำหอยโดยใช้เครื่องลม ยกเว้นกิจการเพื่อส่วนรวม 2.การจำกัดและห้ามทำประมงตามช่วงเวลา ตามฤดูกาลในบางพื้นที่ (ช่วงวางไข่ ช่วงระยะเติบโต) 3.ร่วมกันฟื้นฟูระบบนิเวศโดยรวม เช่น วางแนวปะการัง ปลูกป่าชายเลน ฯลฯ และ 4.ป่าชายเลนชุมชน การดูแลรักษาและใช้ประโยชน์ให้เป็นไปตามกฎระเบียบของแต่ละชุมชน
 โดยมีเป้าหมายหลักสำคัญเพื่อป้องกันการบุกรุกของเหล่าบรรดาอวนลาก อวนรุน และอวนตาเล็กทั้งหลายที่เข้ามาทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่ง งานนี้ชาวบ้านเขาคิดกันเอง ทำกันเอง โดยหน่วยงานภาครัฐทำหน้าที่คอยกำกับเป็นพี่เลี้ยงให้เท่านั้น แต่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน ชาวบ้านได้แหล่งทำมาหากินกลับมา ในขณะที่หน่วยภาครัฐก็มีผลงาน
 "เขตเลเสบ้าน" จึงนับเป็นตัวอย่างของชุมชนเข้มแข็งที่น่าศึกษาและควรนำไปเป็นแบบอย่างให้แก่ชุมชนอื่น เพราะสิ่งที่เห็นในวันนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเป็นผลพวงมาจากสึนามิที่ชาวบ้านแปลงวิกฤติเป็นโอกาสผ่านการช่วยเหลือเยียวยาจากมูลนิธีซิเมนต์ไทยและพันธมิตรในเครือข่ายนั่นเอง
 สุรัตน์ อัตตะsurat_a@nationgroup.com








ข่าวที่เกี่ยวข้องท่องทะเลตรังกับ"มูลนิธิซิเมนต์ไทย"ดูการฟื้นฟูอาชีพประมงพื้นบ้านน้ำราบ

NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive