Wednesday, May 5, 2010

หัวใจเกษตรสู่คนรุ่นใหม่ ฝังรากแก้วด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

หัวใจเกษตรสู่คนรุ่นใหม่ ฝังรากแก้วด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

เด็กนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด.จากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระประสงค์ให้เด็กเรียนรู้เรื่องของสหกรณ์ รู้จักคิดวางแผนควบคู่กับกิจกรรมด้านการเกษตรภายในโรงเรียน นอกจากสร้างพื้นฐานอาชีพเกษตรในอนาคต ยังมีผลิตผลที่ได้จากกิจกรรมส่งเข้าโครงการอาหารกลางวันเพื่อสนองพระราชดำริ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กระทรวงเกษตรฯ พร้อมด้วย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร (ธ.ก.ส.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ บริษัทฟาร์มแชนแนล (ประเทศไทย) จำกัด จึงร่วมจัดโครงการ เด็กไทยหัวใจเกษตร (My Little Farm) ขึ้นนาย อนันต์ ภู่สิทธิกุล อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และ รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นายอนันต์ ภู่สิทธิกุล อธิบดีกรมตรวจบัญชี บอกว่า เพื่อเป็นพื้นฐานในอนาคตที่จะทำให้อาชีพเกษตรของประเทศไทยมีความเข้มแข็ง เป็นแหล่งสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างมีระบบ สามารถวางมาตรฐานต้นทุนการผลิต ผลกำไรได้อย่างแม่นยำ ในวันนี้โรงเรียนต้องเริ่มสร้างธุรกิจในรูปแบบของสหกรณ์ เป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนการทำบัญชี ควบคู่กับการวางรูปแบบธุรกิจการเกษตร ซึ่งโครงการดังกล่าวนอกจากสร้างยุวเกษตรกรรุ่นใหม่ ยังเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจระบบสหกรณ์ไทยให้กับผู้ปกครองในทางอ้อม...โครงการดังกล่าว มีโรงเรียนให้ความสนใจ จำนวน 89 แห่ง ผ่านการคัดเลือก 10 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านวังเตย จ.อุทัยธานี โรงเรียนบ้านเขาไม้แก้ว จ.ปราจีนบุรี โรงเรียนบุแกรงวิทยาคม จ.สุรินทร์ โรงเรียนบ้านตระกาศ ขอนแก่น จ.ศรีสะเกษ โรงเรียนหนองหลวงศึกษา จ.สกลนคร โรงเรียนบ้านเหล่า (รัฐราษฎร์บำรุง) จ.แพร่ โรงเรียนศึกษา สงเคราะห์แม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน โรงเรียนวัดสุทธาวาส จ.สุราษฎร์ธานี โรงเรียนทุ่ง-หว้าวรวิทย์ จ.สตูล และโรงเรียนสามร้อยยอดวิทยาคม จ.ประจวบคีรีขันธ์จุดเริ่มต้นการฝึกในพื้นที่โรงเรียนสู่วิถีการทำเกษตรแบบพอเพียง.
และได้เข้าไปเรียนรู้ ร่วมกันในบริเวณพื้นที่กันตนา มูฟวี่ทาวน์ ศาลายา อ. พุทธมณฑล จ.นครปฐม ห้วงคาบเวลาที่ผ่านพ้นร่วม 50 วัน ในวันนี้ผลิตผลที่ร่วมคิด ร่วมทำ เริ่มมีส่งไปขายในตลาดหลายชนิด อาทิ มะเขือ ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ปลา ฯลฯ ซึ่งจากการที่ได้สัมผัสกับเด็กเห็นว่าโครงการส่วนใหญ่ที่เสนอเข้ามา ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การทำเกษตรผสมผสาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางควบคู่กับการลดต้นทุนทางเคมี ใช้วิถีธรรมชาติเข้าช่วย...อย่าง ด.ช.อภิชาติ ใบแก้ว จากโรงเรียนทุ่งหว้าวรวิทย์ บอกว่า เสนอโครงการเกษตรผสมผสาน บนรากฐานของความพอเพียง คือการปลูกพืชที่ดีต้องคำนึงหลักเกื้อกูล ความพอดี และน้อมนำพระราชดำรัสมาใช้ ทั้งในเรื่องการทำเกษตรผสม-ผสาน การทำเกษตรอินทรีย์ ลดใช้สารเคมี นอกจากลดต้นทุน การผลิตไม่สูง ยังช่วยให้ไม่มีสารตกค้างไปถึงผู้บริโภค สุขภาพผู้ปลูกดี ควบคู่กับทำถั่วงอกอินทรีย์หรือที่บางแห่งเรียกว่าถั่วงอกตัดรากนายสุริยนต์ ชมป่าท้าง จากโรงเรียนหนองหลวงศึกษา เล่าต่อว่า อาชีพเกษตรเป็นสิ่งสำคัญที่คนไทยรุ่นบรรพบุรุษทำเลี้ยงครอบครัวมาตั้งแต่สมัยโบราณ จึงนำหลักความคิดเข้ามาในการจัดการ พร้อมทั้งเสนอโครงการเกษตรอินทรีย์เพื่อชีวิต แก้วิกฤติพอเพียง รูปแบบแนวทางคือ แบ่งพื้นที่ปลูกพืชแต่ละชนิดทั้งกินผลอย่าง มะเขือ พริก ซึ่งนอกจากอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่เร็ว หากประเภทไหนเจอวิกฤติแมลงศัตรูพืชลงสร้างความเสียหาย ก็ยังมีพืชอื่นๆให้เก็บเกี่ยวผลผลิตส่วน ด.ญ.สถาพร ดวงศรี จากโรงเรียนบุแกรงวิทยาคม บอกว่า เสนอโครงการเกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียง มีรูปแบบคือการใช้น้ำหมักชีวภาพที่ทำกันเอง ซึ่ง เอาความรู้จากยุวเกษตรกรในโรงเรียนมาใช้ โดยสูตรประกอบด้วยผักบุ้งนามาทำน้ำหมักใส่อีเอ็ม ปูนขาว กากน้ำตาล หมักในถัง และซากปลาที่ตายจากบ่อเลี้ยงผู้จัดการ ธ.ก.ส.พร้อมด้วยผู้บริหารบริษัทฟาร์มแชนแนล (ประเทศไทย) จำกัด เข้าร่วมเป็นกรรมการรอบคัดเลือก.
เกษตรกรรุ่นใหม่ หัวใจเกษตร กลุ่มนี้บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า แพ้ชนะไม่สำคัญเพราะพวกเราได้ประสบ-การณ์ ได้มิตรภาพจากเพื่อนๆที่เข้ามาอยู่ร่วมกัน ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนแนวทางแก้ปัญหาจากพื้นที่ต่างๆ เมื่อกลับไปจะเอาความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ในกลุ่มยุวเกษตรกร คนในหมู่บ้าน การทำเกษตรแบบพอเพียง ลดต้นทุน การทำบัญชีที่ถูกต้อง ซึ่งบางแห่งทุกสัปดาห์ โรงเรียนจะมีโครงการกลุ่มยุวเกษตรกรแลกเปลี่ยนความรู้กับชุมชน...แพ้ชนะไม่สำคัญ แต่มันอยู่ที่ใครจะเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ความรู้ ที่ได้กลับไปมากที่สุด นั่นคือ ผู้ชนะอย่างแท้จริง อาชีพเกษตรไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ง่ายอย่างที่ใจคิด ยังนับว่าเป็นเรื่องจำเป็น และสิ่งใกล้ตัว ตราบใดที่คนเรายังต้องกิน!!...เพ็ญพิชญา เตียว

NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive