Tuesday, April 6, 2010

ปลูกอ้อย 1 ไร่ได้ผลผลิต 100 ตัน นวัตกรรมใหม่ล่าสุดกลุ่มวังขนาย

ปลูกอ้อย 1 ไร่ได้ผลผลิต 100 ตัน
นวัตกรรมใหม่ล่าสุดกลุ่มวังขนาย





คมชัดลึก : ที่ผ่านมาการทำไร่อ้อยของเกษตรกรจะได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 10-12 ตันต่อ 1 ฤดูกาล ล่าสุดกลุ่มวังขนายผู้ผลิตน้ำตาล วังขนาย ได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ในการปลูกอ้อยที่ได้ผลผลิตสูงถึง 10 เท่า ชนิดที่ไม่มีประเทศไหนทำได้มาก่อน ที่สำคัญคุณสมบัติพิเศษสามารถปลูกได้ในพื้นที่ทุกจังหวัด จากความสำเร็จดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม จึงร่วมกับกลุ่มดำเนิน โครงการปลูกอ้อย 100 ตันต่อไร่ และเร่งผลักดันให้เกษตรกรได้เพาะปลูก เนื่องจากทำรายได้ที่คุ้มค่า








 ธิป โรจนกิจ ผอ.อาวุโสกลุ่มวังขนาย บอกว่า การที่เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยได้ผลผลิตน้อยประมาณอยู่ที่ไร่ละ 10-12 ตันนั้น เพราะใช้ประสบการณ์การปลูกอ้อยแบบดั้งเดิม ส่งผลให้มีต้นทุนในการปลูกสูง ดังนั้น กลุ่มจึงค้นคว้าและศึกษาการปลูกอ้อยด้วยวิธีใหม่ มีเป้าหมายให้ได้ผลผลิตไร่ละ 100 ตัน โดยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม ดำเนินงานภายใต้ “โครงการปลูกอ้อย 100 ตันต่อไร่” ขึ้นมา เนื่องจากเห็นว่า เหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่ในการเพาะปลูกอ้อยไม่มากนัก และสามารถดูแลได้ทั่วถึง
 "นวัตกรรมใหม่ของเราแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง เป็นนวัตกรรมที่วังขนายคิดค้นขึ้นจากจิตสำนึกที่เคารพความเป็นธรรมชาติอย่างรอบคอบและรอบด้าน ทุกกระบวนการทางความคิด ทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กรรมวิธีเพาะปลูก และดูแลทุกขั้นตอน ถูกคิดค้นและควบคุมให้อยู่ในวงจรบริสุทธิ์ของธรรมชาติ นับเป็นนวัตกรรมใหม่ในการปลูกอ้อยธรรมชาติ ส่งผลให้ทุกวันนี้วังขนายสามารถปลูกอ้อยอินทรีย์สูตร 100 ตันต่อไร่ ได้ผลสมบูรณ์แบบอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน" ธิป กล่าว
 สำหรับหัวใจหลักของการปลูกอ้อยอินทรีย์สูตร 100 ตันต่อไร่ ขึ้นอยู่กับดิน พันธุ์อ้อย น้ำ และปุ๋ย แปลงอ้อยควรอยู่ห่างไกลจากแหล่งก่อให้เกิดมลพิษ เพื่อหลีกเลี่ยงจากสารเคมี กล่าวคือ ดินต้องดี มีคุณสมบัติครบ 4 ประการ คือ  น้ำ อากาศ อินทรียวัตถุ และแร่ธาตุ ส่วนพันธุ์อ้อยก็มีความสำคัญ ต้องมีคุณภาพดี ได้มาตรฐาน มีความเหมาะสมกับสภาพดิน สภาพภูมิอากาศ และความต้านทานต่อศัตรูอ้อย 
 ห้ามใช้พันธุ์อ้อยที่ได้จากการตัดต่อสายพันธุกรรมเด็ดขาด และสุดท้ายคือน้ำและปุ๋ย ต้องมีแหล่งน้ำที่เป็นธรรมชาติ สะอาด ปลอดสารพิษเจือปน ควรปล่อยปลาอาศัยชุกชุม เพื่อรักษาวงจรชีวภาพในแหล่งน้ำให้คงอยู่ตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตามก่อนเริ่มกระบวนการเพาะปลูก ปัจจัยแรกสุดที่ต้องให้ความสำคัญและคัดเลือกอย่างพิถีพิถัน คือพื้นที่เพาะปลูก จะต้องมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ดี ห่างจากมลพิษทั้งหลายด้วย 
 ด้าน สุรพล ถ้ำกระแสร์ ผอ.ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคที่ 1 จ.กาญจนบุรี บอกว่า ปัจจุบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกอ้อยที่ให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ส่งผลทำให้มีรายได้น้อย และมีฐานะยากจน ทางสำนักงานจึงมีนโยบายที่จะหาทางเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น และมีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำ จึงขอความร่วมมือกับทางกลุ่มวังขนายในการคิดค้นหาวิธีการ จนมาประสบความสำเร็จในโครงการปลูกอ้อย 100 ตันต่อไร่ ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดของการเพิ่มผลผลิตอ้อยในประเทศไทย ที่จะแก้ปัญหาในเรื่องการเพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดี พร้อมขยายความรู้แก่เกษตรกรปลูกอ้อยตามโครงการดังกล่าว
 นับเป็นอีกทางเลือกสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในอนาคต แต่ทั้งนี้ต้องศึกษาความรอบคอบด้วย 
 










NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive