Wednesday, April 24, 2013

ปรับหลักสูตร ม.ปลายเพิ่มวิชาชีพ เน้นให้เด็กมีทางเลือกมากขึ้น

ปรับหลักสูตร ม.ปลายเพิ่มวิชาชีพ เน้นให้เด็กมีทางเลือกมากขึ้น
ส่วนลดชั่วโมงเรียนในห้องใกล้ลงตัว ศ.ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ ในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรฯ ว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปที่ค่อนข้างลงตัวเกี่ยวกับโครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็น 6 กลุ่ม และแต่งตั้งคณะทำงานศึกษารายละเอียด โดยหลอมรวม 8 กลุ่มสาระและเรียกใหม่ว่า 6 กลุ่มการเรียนรู้ ได้แก่ 1.ภาษาและวัฒนธรรม มี ผศ.ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธาน 2.วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ประธานคือ ศ.ดร.วิชัย ริ้วตระกูล นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ 3.การดำรงชีวิตและโลกของงาน ประธาน คือ ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการ สสค. 4.ทักษะสื่อและการสื่อสาร ประธานคือ นายเชาวเลิศ เลิศชโรฬาร จากคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ 5.สังคมและมนุษยศาสตร์ ประธานคือ รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ คณะครุฯจุฬาฯ และ 6.อาเซียน ภูมิภาคและโลก มีนายพินิติ รตะนานุกูล ผู้ตรวจราชการ ศธ.เป็นประธาน“ส่วนระยะเวลาเรียนเบื้องต้น ป.1-2-3 เรียนในห้องเรียน 790 ชั่วโมง, ป.4-5-6 เรียน 800 ชั่วโมง, ม.1-2-3 เรียน 900 ชั่วโมง แต่มีแนวโน้มลดลงได้อีก ซึ่งเดิมทุกช่วงชั้นจะเรียนประมาณ 1,000 ชั่วโมง แต่การปรับหลักสูตรใหม่จะให้เรียนในห้องเรียนลดลง ที่เหลือเป็นกิจกรรมนอกห้องเรียน แต่ก็ยังอยู่ในโรงเรียน ซึ่งจะให้ปรับเป็นลักษณะโครงงานบูรณาการหลายๆ วิชาเข้าด้วยกัน อาทิ โครงงานวิทย์ ศาสนา และสังคมจิตอาสา เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมเสริมทักษะตามความสนใจของเด็กทั้งเด็กเก่งและเด็กอ่อน เพื่อเสริมในวิชาที่อ่อนในลักษณะคลินิกรักษาวิชาที่อ่อน เช่น คลินิกภาษา คลินิกคณิต เป็นต้น” ที่ปรึกษา รมว.ศธ. กล่าวและว่า สำหรับหลักสูตรชั้น ม.ปลาย อยู่ระหว่างพิจารณา เพราะเป็น การยกเครื่องใหญ่ โดยต้องวางหลักสูตรให้เด็กมีทาง เลือกมากขึ้น ทั้งเพิ่มวิชาชีพเข้ามาให้มากขึ้นด้วย.

No comments:

Post a Comment

Blog Archive