Monday, March 11, 2013

แรงงานอาเซียน เผชิญความไม่มั่นคงในชีวิต หลังเปิดเออีซี

แรงงานอาเซียน เผชิญความไม่มั่นคงในชีวิต หลังเปิดเออีซี
วงเสวนาชี้ แรงงานทั่วอาเซียนเผชิญชะตากรรมความไม่มั่นคงในชีวิต หลังเปิดเออีซี เหตุแรงงานถ่ายเท นายจ้างมีตัวเลือกมาก ใช้เล่ห์จ้างงานชั่วคราว หวั่นตกงานระนาวหากพัฒนาศักยภาพ เผยต่างด้าวทะลัก เพราะค่าแรง 300 ระบุแรงงานไทยต้องกลายเป็นแรงงานนอกระบบ จี้รัฐบาลออกกฎหมายคุม... วันที่ 11 มี.ค. ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สมาคมส่งเสริมสิทธิชุมชนเพื่อการพัฒนา จัดเสวนา “การปรับตัวองค์กรแรงงานก้าวสู่ประชาคมอาเซียน : ผ่านบทเรียนแรงงานหญิงไทยเกรียง”น.ส.อรุณี ศรีโต นายกสมาคมส่งเสริมสิทธิชุมชนเพื่อการพัฒนา (ไทยเกรียง) กล่าวว่า ประสบการณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของไทยเกรียง ในการรองรับหลังจากถูกเลิกจ้าง คือการเตรียมตัว มีทั้งการตั้งกลุ่มออมทรัพย์สัจจะ ขบวนการช่วยเหลือเรื่องการฝึกอาชีพ และกลุ่มที่เกาะเกี่ยวกัน จนกระทั่งบริษัทถูกปิดตายในปี พ.ศ. 2549 คนงาน รุ่นสุดท้ายกว่าพันคนต้องออก ซึ่งกลุ่มไทยเกรียง ที่ออกมาก่อน ได้เตรียมเรื่องการฝึกอาชีพไว้ให้คนรุ่นหลัง จุดพิเศษของไทยเกรียง คือเรามีแกนนำที่ทำงานกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง นอกจากเรื่องสหภาพคือเรื่องส่งเสริมอาชีพเสริมความรู้ให้กับบรรดาเพื่อนคนงาน บทบาทหลักของแกนนำคือการสนับสนุน ไม่ให้เผชิญปัญหาเพียงลำพังนางสาวอรุณี กล่าวต่อว่า หลังจากผ่านวิกฤติช่วงนั้นมาแล้ว เราต้องมีการปรับตัว ซึ่งที่ผ่านมาได้ทำงานกับหลายกลุ่ม ทั้งแรงงานนอกระบบและปัญหาครอบครัว ความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน ซึ่งจะต้องปรับตัวเองให้เป็นสหภาพที่ทำงานร่วมกับชุมชน ทั้งนี้ การเปิดอาเซียนในอีก 2 ปีข้างหน้า ทำให้ตลาดแรงงานเปิดมากขึ้น ยิ่งค่าแรงบ้านเรา 300 บาท ก็ยิ่งเนื้อหอมทำให้เพื่อนบ้านทั้งลาว พม่า เขมร เข้ามามากขึ้น คนงานไทยต้องปรับตัว ที่สำคัญข้าราชการไทยก็ต้องมีข้อบังคับใช้กฎหมายให้เคร่งครัด ปัญหาใหญ่คือ แรงงานนอกระบบจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากจะมีการรับงานจากโรงงานไปทำที่บ้าน นายทุนจะปัดภาระ ซึ่งรัฐต้องเข้มแข็ง คุ้มครองอย่าให้นายจ้างอาศัยช่องว่างขนส่งสินค้าไปให้ชาวบ้านทำ ซึ่งมันจะโยงไปถึงเรื่องสุขภาพด้วย และแรงงานต่างด้าวจะกลายมาเป็นแรงงานในระบบแทน“รัฐไม่เคยไปแตะเรื่องแรงงานนอกระบบ และบ้านจะกลายเป็นโรงงานเล็กๆ คนงานเย็บผ้าทำงานถึงเที่ยงคืน รีบทำงานตามออเดอร์ที่เจ้าของโรงงานขนมาให้ ค่าแรงที่เป็นธรรมก็ไม่รู้เท่าไหร่กันแน่ เพราะหากเขาอยู่ในระบบโรงงานเขาก็รู้มันกำหนดตายตัว แต่เมื่อทำข้างนอกไม่มีทางรู้แน่นอน แต่ชั่วโมงทำงานหนักขึ้นส่งผลถึงความปลอดภัยในชีวิตและสุขภาพ” นางสาวอรุณี  กล่าวด้านนายวิชัย พูดเกิด ประธานสหภาพแรงงานน้ำใจสัมพันธ์  กล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นของแรงงานในขณะนี้ว่า ค่าครองชีพที่ถึงแม้จะปรับขึ้นเป็น 300 บาท แต่เหมือนกับไม่มีประโยชน์อะไร เพราะสินค้ามีราคาแพงเพิ่มขึ้นเท่าตัว ขณะเดียวกัน ปัญหาในอนาคตหากมีการเปิดอาเซียนเกี่ยวกับเรื่องแรงงาน คือ กฎหมายแรงงานต่างด้าว ที่ขณะนี้ดูเหมือนไม่ได้ถูกหยิบยกมาพูดทำความเข้าใจ ทั้งนี้ปัญหาที่จะต้องพบอีกคือเรื่องการเตรียมการของแรงงานไทย โดยเฉพาะแรงงานด้านอุตสาหกรรมหนัก ที่ส่วนใหญ่จะเป็นคนต่างด้าวเกือบทั้งหมด เพราะแรงงานไทยเกี่ยงงานและไม่สู้งานหนัก แต่หากมองในผลดี ก็จะทำให้แรงงานไทยพัฒนาฝีมือ มีศักยภาพ แต่ผลเสียหากพัฒนาฝีมือไม่ได้ หรือไม่กระตือรือร้น จะถูกมองข้าม และคนงานไทยจะตกงานมากขึ้น รวมทั้งปัญหาในระยะยาว หากกลุ่มแรงานงานต่างด้าวสามารถรวมกลุ่มกันได้เป็นก้อน ก็จะมีการเรียกร้องสิทธิต่างๆ ถ้ากฎหมายไทยไม่รองรับ การเรียกร้องเหล่านั้นจะเกิดปัญหากับสถานที่ประกอบการนั้นๆ ทันที“สถานการณ์ของแรงงานตอนนี้มีความซับซ้อน แรงงานไทยต้องเผชิญกับปัญหาหลายอย่าง เช่น ความรุนแรงในครอบครัว การละเมิดสิทธิทางเพศ ซึ่งต้องลงลึกเพื่อเข้าไปทำงานตรงนี้ สหภาพแรงงานเคยทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาความรุนแรง การละเมิดสิทธิ จึงอาจต้องมีการต้องปรับตัว เพื่อให้ทำงานเชิงรุกและทำงานอย่างเข้มแข็งมากกว่านี้ โดยเฉพาะการทำงานร่วมกับครอบครัว เพราะจะเกิดผลดีทำให้สมาชิกเพิ่มขึ้น การต่อรองกับนายจ้างเพื่อให้ทำงานได้ง่ายขึ้น” นายวิชัย กล่าวด้านนายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า การเข้าสู้อาเซียนจะทำให้สถานการณ์ของแรงงานมีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น จะมีคนงานต่างชาติเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะแรงงานหญิง ซึ่งต่อไปจะไม่ใช่แค่ถูกเอาเปรียบเรื่องค่าจ้าง แต่จะมีปัญหาเรื่องการคุกคามทางเพศ ความรุนแรงในครอบครัว และจากปัญหาที่แรงงานหญิงต้องเผชิญอยู่ ทั้งในชุมชน โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย เรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องปรับตัวและมีการออกมาปกป้องแรงงานหญิงในปัญหานี้ด้วย จะเห็นว่าบทเรียนของชุมชนไทยเกรียง เขาไม่ได้ทำแค่เพียงแรงงานนอกระบบอย่างเดียว แต่เขาลงไปทำงานกับชุมชน เข้าไปช่วยเหลือคนในครอบครัว ซึ่งติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การเข้าไปเรียกร้องยุติโรงงานแยกแก๊สเพราะกระทบอันตรายต่อชุมชน“สิ่งที่น่าห่วงคือ ปัญหาแรงงานหญิงถูกคุกคามทางเพศ เพราะเมื่อเข้าสู่อาเซียนอาจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสหภาพแรงงานต้องออกมาแก้ปัญหาในเรื่องนี้ด้วย และหากคนงานยังดื่มแอลกอฮอล์ ก็จะทำให้สหภาพแรงงานไม่เข้มแข็ง นำมาสู่ความรุนแรงในครอบครัวและปัญหาอาชญากรรมต่างๆ ตามมาได้ ดังนั้น องค์กรแรงงานต้องเร่งปรับตัวกับปัญหาที่มีอยู่ และปัญหาที่กำลังจะเพิ่มขึ้น ต้องเข้าไปร่วมทำงานกับครอบครัว ซึ่งตอนนี้เราจะเห็นว่ากลุ่มแรงงานเริ่มเข้าไปทำงานประเด็นผู้หญิงมากขึ้น ทั้งเรื่องที่อยู่อาศัย การศึกษาของลูก ศูนย์เลี้ยงเด็ก อย่างไรก็ตาม ต้องมองมิติการทำงานทางสังคม เพื่อให้ครอบคลุมหาแนวร่วมที่กว้างขวางให้แรงงานเกิดความเข้มแข็ง เพราะที่ผ่านมาแรงงานมีเพียงแนวร่วมเพียงสหภาพแรงงาน จึงจำเป็นต้องมีแนวร่วมชุมชน เพื่อให้กลุ่มต่างๆ ได้เข้ามาสนับสนุนเวลาแก้ปัญหาจะได้ครอบคลุม” นายจะเด็จ กล่าวขณะที่ นายวรดุลย์ ตุลารักษ์ นักวิจัยอิสระด้านแรงงาน กล่าวว่า ประเทศที่เห็นชัดและตื่นตัวมากที่สุดในกลุ่มอาเซียน คือประเทศอินโดนีเซีย คือเขามีการปรับตัวและเคลื่อนไหวมากขึ้น ล่าสุดการนัดหยุดงานครั้งใหญ่กว่า 2 ล้านคน ในการเรียกร้องร้องกฎหมาย ค่าแรงขั้นต่ำ เรื่องสวัสดิการด้านประกันสุขภาพ ซึ่งรวมไปถึงประชาชนทั่วไปชาวนา ชาวไร่ หรือคนในสังคมอื่นๆ นอกเหนือจากผู้ใช้แรงงาน ซึ่งรัฐบาลก็ตอบรับข้อเรียกร้องดังกล่าว ทั้งนี้ ถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กับสังคม โดยประเทศอินโดนีเซียก็มีปัญหาคล้ายกับประเทศอื่นคือ เรื่องค่าจ้างต่ำและการจ้างงานแบบไม่มั่นคง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่พบทั่วกลุ่มอาเซียนในขณะนี้“เศรษฐกิจอาเซียนเติบโตเร็วมาก และการจ้างงานที่ไม่ประจำก็ตามมา ส่งผลเสียคือ ความมั่นคงในชีวิตของประชาชนที่อาชีพต่ำ เกิดการถ่ายเทแรงงานกันมาก นายจ้างก็มีตัวเลือกมาก และใช้วิธีจ้างงานชั่วคราวเซ็นสัญญาระยะสั้น แล้วเปลี่ยนคนเข้าออกตลอดเวลา แล้วมันจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อความมั่นคงในการดำรงชีวิต” นายวรดุลย์ กล่าวนายวรดุลย์ กล่าวอีกว่า ปัญหาใหญ่นี้ถือเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทยเช่นกัน ซึ่งขณะนี้พยายามหาทางแก้ไขด้วยการเจรจากับนายจ้าง เพื่อให้มีการบรรจุพนักงานให้เป็นพนักงานประจำ หรือมีการตั้งเพดานระยะเวลาแน่นอน เพื่อห้ามไม่ให้มีการจ้างชั่วคราว ในขณะเดียวกัน ปัญหาสำคัญอีกอย่างคือ โครงสร้างสหภาพแรงงานของไทยที่มีกระจัดกระจาย ไม่มีระบบ ทำให้มีกำลังน้อย ไม่สามารถเรียกร้อง หรือแก้ปัญหาอะไรที่มีพลังได้มากนัก.

No comments:

Post a Comment

Blog Archive