Monday, December 10, 2012

หยุดกิน-หยุดล่า...สัตว์ป่า

หยุดกิน-หยุดล่า...สัตว์ป่า
วันที่ 26 ธันวาคม ของทุกปี คือ “วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ”ย้อนหลังกลับไปเมื่อ 52 ปี ก่อนหรือกว่าครึ่งศตวรรษมาแล้ว วันที่ 26 ธ.ค.2503 คือวันที่ประเทศไทยมีการบังคับใช้กฎหมายสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนหันมาให้ความสำคัญกับสัตว์ป่าให้มากขึ้นกฎหมายดังกล่าว ยังถือเป็นก้าวแรกแห่งการอนุรักษ์สัตว์ป่าในประเทศไทยอย่างแท้จริง เพราะมีการประกาศพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหลายผืนบนพื้นที่นับล้านไร่เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และหยุดยั้งการสูญพันธุ์ของสัตว์ป่าหลายชนิดธีรภัทร ประยูรสิทธิ์แต่โดยข้อเท็จจริง การณ์หากลับเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะการล่าสัตว์ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและรุนแรงขึ้นในสารพัดรูปแบบ มีทั้งล่าเพื่อเป็นเกมกีฬา เพื่อความสนุกของบรรดาผู้มีอำนาจ หรือคนรวย ล่าเพื่อบริโภคตามความเชื่อ ล่าเพื่อค้า และล่าเพื่อส่งออกให้ประเทศเพื่อนบ้าน ที่มี ขบวนการใหญ่โต เป็นธุรกิจข้ามชาติขนาดใหญ่52 ปีแห่งการประกาศกฎหมายสงวนและคุ้มครองฯ จึงไม่ต่างจาก 52 ปีแห่งความขื่นขมของสัตว์ป่านานาชนิด ที่ต้องทนทุกข์ทรมานสังเวยชีวิตให้กับน้ำมือมนุษย์เช่นในอดีตจากสถิติของสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เอาแค่ 4 ปีย้อนหลังจะพบว่าตัวเลขของการล่าสัตว์ป่ามีจำนวนที่สูงมากปี 2552 มีคดีลักลอบค้าสัตว์ป่า 600 คดี มีผู้กระทำผิด 741 คน ยึดของกลางสัตว์ป่าได้ 6,326 ตัว ยึดซากสัตว์ของกลางได้ 2,636 ซากปี 2553 มีคดีลักลอบค้าสัตว์ป่า 589 คดี มีผู้กระทำผิด 726 คน ยึดของกลางสัตว์ป่าได้ 11,414 ตัว ยึดซากสัตว์ของกลางได้ 2,853 ซากปี 2554 มีคดีลักลอบค้าสัตว์ป่า 528 คดี มีผู้กระทำผิด 578 คน ยึดของกลางสัตว์ป่าได้ 30,369 ตัว ยึดซากสัตว์ของกลางได้ 1,631 ซากปี 2555 มีคดีลักลอบค้าสัตว์ป่า 668 คดี มีผู้กระทำผิด 702 คน ยึดของกลางสัตว์ป่าได้ 14,690 ตัว ยึดซากสัตว์ของกลางได้ 3,298 ซากสัตว์ป่าที่มีการลักลอบล่า อาทิ เสือ ลิ่น จระเข้ ตะกวด เหี้ย ลิง ปลา นก เต่า งู กิ้งก่า กระรอก ฯลฯ ส่วนซากสัตว์ป่า อาทิ หมี เลียงผา กระทิง กระจง เก้ง ช้าง หมูป่า ชะนี ฯลฯนี่เฉพาะที่จับกุมได้ แต่ที่ยังจับไม่ได้อีกจำนวนไม่น้อย และอีกหลายคดีล่าและค้าสัตว์ป่าของหน่วยงานรัฐอื่นๆ ที่ยังไม่ได้ผนวกเข้าไปด้วยคริสตี้ เคนนีย์ความรุนแรงของการลักลอบล่าและค้าสัตว์ป่าในประเทศไทยอยู่ในระดับสูงขนาด นางคริสตี้ เคนนีย์ เอกอัครราชทูต สหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ต้องเดินทางเข้าพบ นายปรีชา  เร่งสมบูรณ์สุข  รมว.ทรัพยากรฯ เมื่อวันที่ 29 ต.ค.2555 เพื่อหารือและแสดงความกังวลต่อสถานการณ์การค้าสัตว์ป่าในประเทศไทย โดยเฉพาะการค้าช้างและงาช้าง เนื่องจากมีการประเมินจากนานาชาติถึงประเด็นประเทศไทยเป็นจุดค้าขายงาช้างระหว่างประเทศที่สำคัญ นางคริสตี้ ระบุว่า การลักลอบค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายมีผลประโยชน์มหาศาล ทั้งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับการก่อการร้ายสากลข้ามชาติ และการก่อความไม่สงบในประเทศต่างๆ อีกต่างหากและตอกย้ำอีกครั้ง ด้วยคำกล่าวของนางคริสตี้ ในวันที่ 4 ธ.ค.ในโอกาสเป็นประธานโครงการรณรงค์ต่อต้านการลักลอบค้าและบริโภคสัตว์ป่า ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมอุทยานฯของประเทศไทยกับสถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ว่า “การลักลอบค้าสัตว์ป่าเป็นอาชญากรรมสำคัญระดับโลก”หันกลับมาดูท่าทีของประเทศไทย นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ์ รองอธิบดีกรมอุทยานฯ กล่าวถึงสถานการณ์ล่าและค้าสัตว์ป่า ว่า มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในพื้นที่เขตอนุรักษ์หลายแห่ง โดยเฉพาะการจับกุมขบวนการค้างาช้างเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้มีงาช้างของกลางเก็บอยู่ถึง 10 ตัน“ขบวนการค้าสัตว์ป่ามักใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่าน เนื่องจากไทยเป็นศูนย์กลางคมนาคมในภูมิภาค ทำให้ถูกมองว่าเป็นศูนย์กลางการค้าสัตว์ป่า อย่างไรก็ตาม แม้มีการปราบปรามและจับกุมอย่างหนัก แต่คาดว่าในการขนย้ายสัตว์ป่า 10 ครั้ง จะสามารถจับได้เพียง 2-3 ครั้งเท่านั้น ทำให้ขบวนการค้าสัตว์ป่ากล้าที่จะลงทุน เพราะถือว่าคุ้มค่า ซากสัตว์ป่าและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์ป่ายังมีมูลค่าสูง ดังนั้น จึงมีขบวนการลักลอบล่าสัตว์ป่าเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ต้นปี 2554 เป็นต้นมาถึงเวลานี้ พื้นที่อุท-ยานแห่งชาติแก่งกระ-จานมีการลักลอบล่าสัตว์มากที่สุด”  รองอธิบดีกรมอุทยานฯ ระบุชัดไม่เพียงเท่านั้น นายธีรภัทร ยังสะท้อนภาพให้เห็นอีกว่า ที่สำคัญขบวนการล่าสัตว์ป่าเริ่มปรับเปลี่ยนเครื่องมือให้สามารถดักสัตว์ใหญ่มากขึ้นหลายรูปแบบ และมีการนำไปวางไว้รอบป่าอนุรักษ์ เพราะรู้ว่าสัตว์ป่าต้องออกมาหากินชายป่า โดยเฉพาะหมูป่า เก้ง กวาง หลายแห่งใช้บ่วงดักสัตว์ ซึ่งเมื่อก่อนใช้เชือก แต่เดี๋ยวนี้ใช้ลวดสลิง เพราะสามารถจับสัตว์ใหญ่ได้ แม้แต่วัวกระทิงและหมีก็ยังติดกับดัก หากสัตว์ยังไม่ตายก็เอาไปขายเป็นๆ แต่ถ้าตายก็ขายเนื้อและอวัยวะต่างๆ“ส่วนใหญ่ผู้ที่ค้าขายสัตว์ป่าแบบผิดกฎหมายจะนำเงินที่ได้ไปสนับสนุนการทำผิดในด้านต่างๆ” นายธีรภัทร กล่าวย้ำทั้งนี้ กรมอุทยานฯ จะจัดงานวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ 26 ธ.ค.นี้ เน้นรณรงค์ 2 เรื่อง คือ 1.การสร้างกระแสอนุรักษ์สัตว์ป่า 2.ต่อต้านการทารุณสัตว์ป่าและการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย โดยชูหัวข้อหลักในการจัดงานว่า “หยุดกิน หยุดล่า ร่วมใจรักษาสัตว์ป่าใกล้ตัว”“ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม” มองว่า วันนี้สัตว์ป่าจำนวนไม่น้อยที่ต้องทนทุกข์ทรมานและสังเวยชีวิตด้วยน้ำมือมนุษย์ เพราะผลประโยชน์มหาศาล ว่ากันว่าผลประโยชน์จากการค้าสัตว์ป่าเป็นรองแค่ยาเสพติดเท่านั้นเราจึงอยากให้ทุกคนตระหนักว่าถึงเวลาแล้วที่ประชาชนจะต้องร่วมมือกันอนุรักษ์สัตว์ป่าอย่างจริงจัง อย่าปล่อยให้สัตว์ป่าถูกล่าและค้าโดยคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนไม่กี่คนนั่นหมายถึงการมีจิตสำนึก ลด ละ เลิก การกิน การล่า การค้าและการทารุณกรรมสัตว์ป่า เพราะนั่นคือการก่ออาชญากรรมคงไม่มีใครอยากให้สัตว์ป่าเป็นเพียงแค่เรื่องเล่าจากอดีตหรือตำนานที่มีอยู่แต่ในตำราเรียนเท่านั้น.  ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม

No comments:

Post a Comment

Blog Archive