Tuesday, April 16, 2013

“มณฑล” ห่วงรัฐยุ่งเงินกู้เมินแยกอุดม

“มณฑล” ห่วงรัฐยุ่งเงินกู้เมินแยกอุดม
“มณฑล” ห่วงรัฐยุ่งเงินกู้เมินแยกอุดม“ภาวิช” มั่นใจเหตุผลดีตั้งกระทรวงใหม่ได้ คาด 2 ปีดันกฎหมายสำเร็จตามที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติมอบหมายให้ ศ.ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา, รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ร่วมกันศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอการแยกสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาออกจากกระทรวงศึกษาธิการ และจัดตั้งเป็นกระทรวงอุดมศึกษาและวิจัยนั้นศ.ดร.มณฑลกล่าวว่า ขณะนี้ดำเนินการตั้งคณะกรรมการศึกษาข้อมูล แล้ว และขอให้ ศ.ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ เป็นที่ปรึกษา เบื้องต้นได้รับคำแนะนำให้ศึกษาร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษาประกอบด้วย อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังต้องมีการรวบรวมข้อมูลอีกมาก และไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่ายๆ  เพราะต้องขึ้นกับนโยบายของ พรรคร่วมรัฐบาลว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ เพราะกระทบ กับกระทรวง ทบวงอื่นๆ พอสมควร รวมถึงหน่วย งานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ทั้งต้องเสนอเป็นร่างกฎหมาย ที่ต้องเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทน ราษฎร จึงต้องดูกระแสของพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลกำลังยุ่งอยู่กับร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทด้าน ศ.ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษา รมว. ศึกษาธิการ กล่าวว่า นโยบายของรัฐบาลนี้ส่งเสริมการอุดมศึกษาและการวิจัย แม้จะไม่ได้ประกาศชัดเจน แต่เนื่องจากสภาพปัจจุบันก็เห็นชัดเจนแล้วว่าสถานการณ์ของงานวิจัยและคุณภาพบัณฑิตเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไข ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลจะฟังเหตุผล เพราะแนวทางการพัฒนาของต่างประเทศให้ความสำคัญกับสถาบันอุดมศึกษาในการขับเคลื่อนประเทศ บางประเทศจัดให้กระทรวงอุดมศึกษาเป็น 1 ในกระทรวงด้านเศรษฐกิจ เพราะเป็นแหล่งที่สร้างนวัตกรรม และนวัตกรรมนั้นก็นำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ หากไทยจัดระบบใหม่น่าจะได้ผลที่ดีกว่าเดิม โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าขณะนี้ รัฐบาลเหลือระยะเวลาทำงาน 2 ปี ซึ่งน่าจะเป็น ช่วงเวลาที่ ทปอ. และมหาวิทยาลัยต่างๆจะสามารถผลักดันกระทรวงการอุดมศึกษาและวิจัยได้สำเร็จ ทั้งการยกร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา โดยกำหนดไว้ ในกฎหมายฉบับนี้ในมาตราใดมาตราหนึ่งให้มีกระทรวงการอุดมศึกษาและวิจัย ก็จะเกิดขึ้นได้ และยังต้องมีการแก้ไข พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ  ซึ่งต้องปรับปรุงเกี่ยวกับโครงสร้างของ ศธ. เพื่อแยก สกอ.ออกมา รวมทั้งการแก้ไขกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้เวลาทำงานประมาณ 2 ปี ในการผลักดันกฎหมายและเตรียมเรื่องอื่นๆให้สำเร็จได้พอดี.

No comments:

Post a Comment

Blog Archive